ข่าวพระราชกรณียกิจ/พระบรมราโชวาท/ถวายพระพร

No Gift Policy

ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับติดต่อกรมปศุสัตว์

การจัดประชุม /สัมมนา /การจัดงาน/ประชาสัมพันธ์

ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์กรมปศุสัตว์

ปฏิทินกิจกรรมผู้บริหารกรมฯ

ข่าวปศุสัตว์จากหนังสือพิมพ์

คำถามที่ถามบ่อย

ระบบการสื่อสารแบบรวมศูนย์ (workD Platform)

แบบสำรวจความพึงพอใจ

ข่าวสารผู้บริหารกรม / กระทรวง (ล่าสุด)

การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

สื่อประชาสัมพันธ์

แบบสอบถามผู้รับบริการ

ข่าวชี้แจงประเด็นสำคัญ

ข่าวสารหน่วยงานในสังกัดกรมปศุสัตว์

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

เอกสารประชาสัมพันธ์

ภาพอินโฟกราฟิกที่สำคัญ

ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2565

เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ/สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ

อาสาปศุสัตว์ดีเด่นแห่งชาติ

ส่งเสริมอาชีพ

ราคาสินค้าปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้

โครงการ JAEC

วีดีโอประชาสัมพันธ์

การป้องกันเฝ้าระวังโรค COVID-19

25630401 1covid

ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านปศุสัตว์

ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านปศุสัตว์

ภาพอินโฟกราฟิกด้านสนันสนุน

ข่าวประชาสัมพันธ์ทั่วไป

การขับเคลื่อนเพื่อประเทศไทย 4.0

การขับเคลื่อนตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ข้อมูลเปิดเผยภาครัฐ

โครงการที่สำคัญ/ลิงค์ประชาสัมพันธ์

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ป้องปรามการกระทำผิดด้านปศุสัตว์

QR Code เว็บไซต์กรมปศุสัตว์

dld qr code
www.dld.go.th

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์

มี 1401 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

        กรมปศุสัตว์ เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ย้ำให้สังเกตอาการในสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิด เพราะอากาศแปรปรวนอาจทำให้สัตว์เกิดโรคต่างๆได้ง่าย พร้อมเร่งดำเนินมาตรการในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาดที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน

         นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต ผู้ตรวจกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยว่า ในช่วงฤดูฝนนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมปศุสัตว์ มีความห่วงใยสุขภาพสัตว์เลี้ยงของเกษตรกร เนื่องจากสภาพอากาศที่บางวันมีแดด และฝนตกหนัก ปศุสัตว์ที่เลี้ยงไว้อาจเกิดความเครียดและอ่อนแอ ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคต่ำลง ส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย โดยโรคสัตว์ที่อาจจะพบได้ในช่วงหน้าฝน ได้แก่

         โค กระบือ แพะ แกะ มักมีปัญหาเรื่องท้องอืด ท้องเสียจากการกินหญ้าอ่อนที่เพิ่งแตกยอดเมื่อได้รับน้ำฝนเข้าไปเป็นจำนวนมาก เพราะที่ผ่านมาสัตว์จะกินแต่ฟาง หรือหญ้าแห้งตลอดในช่วงฤดูแล้ง สำหรับโรคระบาดสัตว์ที่ควรเฝ้าระวัง เช่น โรคปากและเท้าเปื่อยซึ่งสามารถพบได้ในสัตว์เคี้ยวเอื้องทุกชนิดโดยสัตว์ป่วยจะแสดงอาการซึม เบื่ออาหาร น้ำลายยืด เป็นแผลที่ปากและกีบ นอกจากนี้ยังมีโรคคอบวมที่ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงในกระบือและโค สัตว์ที่ป่วยจะตายเฉียบพลันซึ่งทั้งสองโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค นอกจากนี้ยังมีโรคเลปโตสไปโรสิสหรือโรคฉี่หนู สัตว์ติดเชื้อได้จากการสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนในดินหรือน้ำและเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลที่ผิวหนังหรือเยื่อเมือกตา จมูกและปาก โดยสัตว์ที่ป่วยจะมีไข้ สัตว์ตั้งท้องอาจแท้งได้ มีอาการดีซ่านรวมทั้งปัสสาวะมีสีแดง ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่ติดต่อระหว่างสัตว์และคน

         สุกร ต้องระวังโรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งสุกรที่ป่วยจะแสดงอาการเป็นไข้ มีแผลที่จมูกและกีบ เจ็บขา ส่วนโรคพีอาร์อาร์เอส จะพบสุกรแสดงอาการ ซึม เบื่ออาหาร รวมทั้งแสดงอาการแท้งได้ด้วย

         สัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ โรคที่ต้องระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ โรคไข้หวัดนก และโรคหลอดลมอักเสบติดต่อ ที่อาจสร้างความสูญเสียให้กับสัตว์ปีกเป็นจำนวนมาก อาการที่พบได้ คือ คอตก คอบิด หายใจเสียงดัง หรืออาจมีน้ำมูกไหล

         ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องดูแล ให้ความสำคัญกับการจัดการโรงเรือนหรือคอกสัตว์ที่ดี มีหลังคา ป้องกันฝน ลม และละอองฝนได้เป็นอย่างดี หรือจัดเตรียมสถานที่ที่ให้สัตว์สามารถหลบฝนได้ มีการจัดเตรียมน้ำ อาหาร ยา และเวชภัณฑ์ให้พร้อม ทำวัคซีนตามโปรแกรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างให้สุขภาพสัตว์แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยได้ง่าย

         นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ได้เตรียมมาตรการในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน และมาตรการป้องกันโรคของสัตว์ปีกตามแนวชายแดนอย่างเข้มงวดด้วย

         ท้ายที่สุดนี้ กรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือเกษตรกรสังเกตอาการสัตว์เลี้ยงของท่าน หากพบสัตว์แสดงอาการป่วยให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที เพื่อจะได้เร่งดำเนินการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และหากเกษตรกรต้องการขอรับการสนับสนุนพืชอาหารสัตว์จากกรมปศุสัตว์ สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ใกล้บ้านท่าน ด้วยความปรารถนาดีจากกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                                                ------------------------------------------

ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์

เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช  สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ