ข่าวพระราชกรณียกิจ/พระบรมราโชวาท/ถวายพระพร

No Gift Policy

ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับติดต่อกรมปศุสัตว์

การจัดประชุม /สัมมนา /การจัดงาน/ประชาสัมพันธ์

ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์กรมปศุสัตว์

ปฏิทินกิจกรรมผู้บริหารกรมฯ

ข่าวปศุสัตว์จากหนังสือพิมพ์

คำถามที่ถามบ่อย

ระบบการสื่อสารแบบรวมศูนย์ (workD Platform)

แบบสำรวจความพึงพอใจ

ข่าวสารผู้บริหารกรม / กระทรวง (ล่าสุด)

การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

สื่อประชาสัมพันธ์

แบบสอบถามผู้รับบริการ

ข่าวชี้แจงประเด็นสำคัญ

ข่าวสารหน่วยงานในสังกัดกรมปศุสัตว์

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

เอกสารประชาสัมพันธ์

ภาพอินโฟกราฟิกที่สำคัญ

ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2565

เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ/สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ

อาสาปศุสัตว์ดีเด่น

ส่งเสริมอาชีพ

ราคาสินค้าปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้

โครงการ JAEC

วีดีโอประชาสัมพันธ์

การป้องกันเฝ้าระวังโรค COVID-19

25630401 1covid

ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านปศุสัตว์

ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านปศุสัตว์

ภาพอินโฟกราฟิกด้านสนันสนุน

ข่าวประชาสัมพันธ์ทั่วไป

การขับเคลื่อนเพื่อประเทศไทย 4.0

การขับเคลื่อนตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ข้อมูลเปิดเผยภาครัฐ

โครงการที่สำคัญ/ลิงค์ประชาสัมพันธ์

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ป้องปรามการกระทำผิดด้านปศุสัตว์

QR Code เว็บไซต์กรมปศุสัตว์

dld qr code
www.dld.go.th

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์

มี 1812 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

pic01

ครม. เห็นชอบแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของประเทศไทยเป็นวาระแห่งชาติตามที่กระทรวงเกษตรฯ เสนอแล้ว ล่าสุดระบาดจากจีน สู่เวียดนาม เข้ากัมพูชา โรคนี้เป็นโรคติดต่อร้ายแรงในสุกร หากติดเชื้อไวรัสพาหะ อัตราการตายของสุกรเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ จึงต้องเตรียมพร้อมเต็มที่ป้องกันความเสียหายต่อเกษตรกรที่เลี้ยงสุกร รวมถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องมูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาท

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ได้นำเสนอให้ครม. พิจารณาเรื่องดังกล่าว เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever : ASF) แพร่ระบาดขยายเป็นวงกว้างขึ้น โดยตั้งแต่ปี 2561 ถึงปัจจุบัน พบการระบาดใน 17 ประเทศได้แก่ ทวีปยุโรป 10 ประเทศ ทวีปแอฟริกา 4 ประเทศ และทวีปเอเชีย 4 ประเทศ โดยในทวีปเอเซียมีรายงานการระบาดครั้งแรกที่สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 61 ต่อมาพบที่ประเทศมองโกเลีย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ล่าสุดพบในราชอาณาจักรกัมพูชาแล้ว มีรายงานการทำลายสุกรในจีน 950,000 ตัว มองโกเลีย 2,992 ตัว เวียดนาม 46,600 ตัว ส่วนที่กัมพูชาเพิ่งพบการติดเชื้อ ประมาณการความเสียหายเบื้องต้นมูลค่ารวม 6,000 ล้านบาท

นายกฤษฎากล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโรค ASF ยังไม่สามารถควบคุมได้ ในจีนพบ 113 ครั้งใน 28 จังหวัด มองโกเลีย 10 ครั้งใน 6 จังหวัด เวียดนาม 221 ครั้งใน 17 จังหวัด และกัมพูชา 1 ครั้งใน 1 จังหวัด จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะระบาดเข้าสู่ไทยได้ทั้งจากการลักลอบนำผลิตภัณฑ์สุกรติดตัวของนักท่องเที่ยว ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้เข้มงวดจับกุมการลักลอบเคลื่อนย้ายสุกร ซากสุกร และผลิตภัณฑ์สุกรที่นักท่องเที่ยวนำมาบริโภคอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่มีการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่จีนตรวจยึดการลักลอบเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์จากสุกร 269 ครั้ง และผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีการปนเปื้อนสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสนี้ 49 ตัวอย่าง ล่าสุดพบการลักลอบนำผลิตภัณฑ์สุกรและซากสุกรผ่านช่องทางนำเข้าชายแดนที่มีระยะทางยาว อีกทั้งยังมีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสจากตัวเกษตรกรหรือสัตวแพทย์ที่ไปดูงานในประเทศที่มีการระบาดของโรค การปนเปื้อนเชื้อไวรัสที่ยานพาหนะ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ส่งออกสุกรและอาหารสุกรไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

นายกฤษฎากล่าวต่อว่า โรค ASF แม้ไม่ได้เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน แต่เป็นโรคระบาดร้ายแรงในสุกร ยังไม่มีวัคซีนป้องกันและควบคุมโรค เชื้อโรคทนทานในผลิตภัณฑ์จากสุกรและสิ่งแวดล้อมสูง สุกรที่หายป่วยแล้วจะเป็นพาหะของโรคได้ตลอดชีวิต สุกรที่ติดเชื้อมีการตายเฉียบพลันเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้แผนเตรียมความพร้อมดังกล่าวได้เชิญผู้เกี่ยวข้องมาจัดทำทั้งภาคเอกชน นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย สัตวแพทยสภา สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ซึ่งเห็นพ้องว่า ควรจัดให้มีคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุมและกำจัดโรค โดยมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ และอธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ โดยคณะกรรมการประกอบไปด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคสหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์ และภาคเอกชน ในระยะเผชิญเหตุการระบาด การตอบสนองในภาวะฉุกเฉินเมื่อมีการระบาด โดยมีมาตรการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ ส่วนระยะภายหลังเผชิญเหตุการระบาดนั้นสามารถฟื้นฟูเพื่อปรับสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรและผู้ที่ได้รับผลกระทบให้กลับสู่สภาวะปกติหรือพัฒนาให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม ลดปัญหาการเกิดโรคอุบัติซ้ำ

ในวันนี้ครม. อนุมัติแผนใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรควงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 148,542,900 บาท โดยปีงบประมาณ 62 เป็นเงิน 53,604,900 บาท ใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในปีงบประมาณ 63 เป็นเงิน 52,419,000 บาท และปีงบประมาณ 64 เป็นเงิน 42,519,000 บาท โดยดำเนินการระยะเร่งด่วนในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค สำหรับระยะยาวให้ยกระดับมาตรการการควบคุมป้องกันโรคให้มีมาตรฐานสากล โดยจัดสร้างโรงทำลายซากสัตว์ติดเชื้อ เนื่องจากเชื้อ ASF คงทนในสภาพแวดล้อมสูง อีกทั้งหากทำลายโดยการฝังจะต้องใช้พื้นที่จำนวนมากและการดำเนินการทำลายเป็นไปด้วยความยากลำบาก มีโอกาสที่เชื้อจะตกค้างและแพร่กระจายในสิ่งแวดล้อม หรือหากทำลายโดยวิธีการเผาจะก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องมีวิธีการกำจัดซากที่ติดเชื้ออย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาข้างต้น

ประเทศไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร 210,978 ราย เป็นเกษตรกรรายย่อย 208,192 ราย เลี้ยงสุกรขุน 80,000 ตัว สุกรพันธุ์ 63,000 ตัว ลูกสุกร 733,000 ตัว เป็นเกษตรกรรายใหญ่ 2,758 ราย เลี้ยงสุกรขุน 8,800,000 ตัว สุกรพันธุ์ 1,137,000 ตัว และลูกสุกร 4,670,000 ตัว ดังนั้นหากเกิดการระบาดของโรคแล้วทำลายสุกร กรณีเกิดโรคร้อยละ 30 ของสุกรที่เลี้ยง เสียหายรวม 21,168,000,000 บาท กรณีเกิดโรคร้อยละ 50 ของสุกรที่เลี้ยง เสียหายรวม 35,280,000,000 บาท หากเกิดโรคร้อยละ 80​ของสุกรที่เลี้ยงเสียหายรวม 56,448,000,000 บาท และถ้าเกิดการระบาดทั้งหมดจะเสียหายรวม 70,560,000,000 บาท รวมถึงผลกระทบต่อการส่งออกเนื้อสุกรชำแหละ เนื้อสุกรแปรรูป เนื้อสุกรมีชีวิต ด้านธุรกิจอาหารสัตว์ ด้านธุรกิจเวชภัณฑ์อีกมหาศาล รวมถึงค่าใช้จ่ายในการพื้นฟูอาชีพและความเป็นอยู่เกษตรกรเป็นจำนวนมากและใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูเป็นเวลานาน

“หากประเทศไทยมีระบบการป้องกันโรคที่ดี รวมทั้งระบบการทำลายสุกรที่เป็นโรคและซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาดเป็นไปตามมาตรฐานสากล สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคในประเทศได้ จะเป็นโอกาสทางธุรกิจเนื่องจากความต้องการสุกรของจีน เวียดนาม และกัมพูชา เพิ่มสูงขึ้น จากเดิมก่อนเกิดโรคราคาสุกรมีชีวิตของประเทศไทยกิโลกรัมละ 60 บาท ภายหลังเกิดโรคคาดการณ์ว่า จะทำให้ราคาสุกรในประเทศมีราคาเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 80 บาท เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 44,000 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นการยกระดับแผนเตรียมพร้อมรับมือโรค ASF เป็นวาระแห่งชาติจึงส่งผลดีทั้งการป้องกันโรค การเผชิญเหตุ การฟื้นฟู ตลอดจนการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจจากการส่งออกสุกรไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ขาดแคลนสุกร” นายกฤษฎากล่าว

วีดีโอประชาสัมพันธ์ "โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever) คืออะไร!!!?"

ที่มาของข้อมูล : คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ