นโยบายสำคัญของกรมปศุสัตว์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2554
โดย นายปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ อธิบดีกรมปศุสัตว์
เมื่อวันที่  26 – 28  กันยายน 2554
ณ  โรงแรมภูเขางามรีสอร์ท  อ.เมือง จ.นครนายก     

 

           นายปรีชา  สมบูรณ์ประเสริฐ  อธิบดีกรมปศุสัตว์   ได้บรรยายมอบนโยบายที่สำคัญของกรมปศุสัตว์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2554   ในการประชุมสัมมนา หัวหน้าส่วนราชการกรมปศุสัตว์ทั่วประเทศ   เมื่อวันที่  26 – 28  กันยายน 2554     ณ  โรงแรมภูเขางามรีสอร์ท  อ.เมือง จ.นครนายก     

          โดยได้กล่าวถึงความสืบเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ.2553    กรมปศุสัตว์  ได้รับงบประมาณดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553   จำนวน  4,292.6217  ล้านบาท  และงบประมาณ  โครงการส่งเสริมปศุสัตว์ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555  อีกจำนวน  567.4380  ล้านบาท   ก่อนสิ้นปีงบประมาณ เบิกจ่ายได้ร้อยละ  93.08   และก่อหนี้ผูกพันร้อยละ  3.67    

            ซึ่งปีงบประมาณ พ.ศ.2554    กรมปศุสัตว์  ได้รับงบประมาณดำเนินงาน  4,704.1717  ล้านบาท      เพิ่มขึ้นจากปีก่อน  411.550  ล้านบาท  คิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ  9.59    โดยมีเป้าหมายการเบิกจ่ายรายไตรมาสคือ   ไตรมาสที่ 1  เป้าหมายการเบิกจ่ายร้อยละ  25    ไตรมาสที่ 2  เป้าหมายการเบิกจ่ายร้อยละ  50   ไตรมาสที่ 3  เป้าหมายการเบิกจ่ายร้อยละ  75   และไตรมาสที่ 4  เป้าหมายการเบิกจ่ายร้อยละ  98

            การได้รับงบประมาณดำเนินงานตามภารกิจของกรมปศุสัตว์  ในแต่ละปีงบประมาณ   มีที่มาจาก การที่หน่วยงานต่าง ๆ ของกรมปศุสัตว์  ได้มาร่วมวิเคราะห์กำหนดแผนปฏิบัติราชการ  แผนงาน/โครงการ  และจัดทำคำของบประมาณ    ขั้นตอนต่าง ๆ ต้องดำเนินงานข้ามปี ไปจนถึงการเสนอเข้าสู่การพิจารณาออกเป็นพระราชบัญญัติงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554    โดยข้อมูลสำคัญในการพิจารณามีหลายประการที่ต้องให้ความสำคัญ  ได้แก่  เป้าหมายการให้บริการของหน่วยงาน  ผลผลิต/โครงการ  กิจกรรม  และตัวชี้วัด       สิ่งเหล่านี้  ทำให้จำเป็นต้องกำหนดทิศทาง  และเร่งรัดผลักดันให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ   เกิดผลลัพธ์ความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้   และยังต้องส่งผลต่อเป้าหมายบริการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้บรรจุไว้ในแผนบริหารราชการแผ่นดินอีกด้วย    กรมปศุสัตว์  จึงได้มอบนโยบายที่สำคัญของกรมปศุสัตว์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2554   ไว้ดังนี้

 

นโยบายที่สำคัญของกรมปศุสัตว์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2554     มีสาระสำคัญ   คือ


กรอบนโยบาย   ที่ยึดถือเป้าหมายบุคคล และงานสำคัญ  

กรอบนโยบาย   ที่ยึดถือเป้าหมายบุคคล และงานสำคัญ   เป็นแนวทางเดียวกันที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ให้ความสำคัญ  คือ

1.  ปศุสัตว์เพื่อเกษตรกร    คือการดำเนินงาน  ที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  ลดต้นทุน  และมีรายได้เพิ่มจากการประกอบอาชีพด้านการปศุสัตว์

2.  ปศุสัตว์เพื่อประชาชน   คือการดำเนินงานเกี่ยวกับ

2.1   การทำให้สินค้าปศุสัตว์  มีคุณภาพ  ได้มาตรฐาน  และปลอดภัย  สำหรับผู้บริโภคภายในประเทศ  และส่งออก

2.2   การป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคสัตว์ติดคน

2.3   การตรวจสอบสถานพยาบาลสัตว์  ให้สามารถให้บริการประชาชนอย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน

3.  ปศุสัตว์เพื่อเศรษฐกิจ    คือการดำเนินงานที่ช่วยส่งเสริม  สนับสนุน  อำนวยความสะดวก  เพิ่มศักยภาพการบริการ  ลดขั้นตอน  ลดระยะเวลา  ลดค่าใช้จ่าย  สร้างมูลค่าเพิ่ม  และผลักดันตลาดสินค้าปศุสัตว์ไทยให้ขยายตัว

 
ประเด็นนโยบาย (ต่อ)

ประเด็นนโยบาย สาระสำคัญของนโยบาย หน่วยงาน
เจ้าภาพหลัก

 1.งานวิจัย

   งานวิจัยที่ดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554   รวมทั้งสิ้น  88 โครงการ      จำแนกเป็น  โครงการวิจัยต่อเนื่อง 41  โครงการ และโครงการวิจัยใหม่ 47 โครงการ 

    1.ขอให้กลุ่มพัฒนาวิชาการปศุสัตว์  ไปดำเนินการให้การทำงานวิจัย  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาความต้องการของพื้นที่

    2.ช่วยสำรวจงานวิจัยที่ผ่านมาที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ เชิงพาณิชย์ได้ว่ามีจำนวนกี่เรื่อง  เรื่องอะไรบ้าง

 กวป.

 2.งานส่งเสริมอาชีพปศุสัตว์ ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

   ดำเนินงานให้ประชาชนตามผลการประชาคมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้  64,703 ครัวเรือน  ได้รับบริการจากหน่วยงานของกรมปศุสัตว์  สามารถเพิ่มรายได้   เมื่อรวมกับรายได้จากภาคอื่นๆ  รวมเป็นไม่น้อยกว่า 120,000 บาทต่อครัวเรือน   และเพิ่มจำนวนแพะเนื้อในพื้นที่ 300,000 ตัว ภายในปี 2555

ผลการประชาคมที่ต้องการด้านปศุสัตว์(ราย) ปี2553 ปี2554 รวม

 1.)แพะเนื้อเชิงพาณิชย์

 176

320 

496 

 2.)แพะเนื้อรายย่อย

5,241 

7,694 

12,935 

 3.)แพะนมรายย่อย

100 

111 

211 

4.) โคเนื้อ(ผสมเทียม/แก้ไขปัญหาสุขภาพ)

5,330 

2,662 

7,992 

 5.)สัตว์ปีก(ไก่พื้นเมืองลูกผสม+เป็ดเนื้อ)

14,895 

24,779 

39,674 

 6.)เป็ดไข่

452 

2,943 

3,395 

 รวม

26,194 

38,509 

64,703 

สพท., สทป., กบส.,  กอส., สคบ.,  กผง., สสอ.9,  สนง.ปศจ. ในพื้นที่ 5 จชต. 

3.งานส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 

  3.1) ดำเนินการให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ เป้าหมาย 83,130 ราย ได้รับบริการจากหน่วยงานของกรมปศุสัตว์  ตามคู่มือปฏิบัติงานส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเกษตรกร  สามารถนำความรู้และเทคโนโลยีไปใช้ประกอบอาชีพได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  3.2) การบริการเกษตรกร เน้นประสิทธิภาพ สร้างความพึงพอใจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ  80

 สพท.

4.งานพัฒนาอาหารสัตว์ 

 4.1) ผลิตพันธุ์พืชอาหารสัตว์  ไม่น้อยกว่า 2,594 ตัน 
   - หน่วยงานกองอาหารสัตว์(ศอส.สอส.)  ผลิต 1,150 ตัน กระจายพันธุ์สู่เกษตรกร  113,200 ราย
   - ส่งเสริม สนับสนุน เกษตรกร  1,144 ราย    ผลิตเมล็ดและท่อนพันธุ์พืชอาหารสัตว์ 1,444 ตัน
4.2) ผลิตเสบียงสัตว์   เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย / ภัยแล้ง  ไม่น้อยกว่า 59,350 ตัน  
   - หน่วยงานกองอาหารสัตว์(ศอส./สอส.)ผลิต 9,350 ตัน ช่วยเหลือเกษตรกร  18,700 ราย
  - ส่งเสริม สนับสนุน   เกษตรกร  4,380 ราย   ผลิต 50,000 ตัน
4.3)  แก้ไขปัญหาอาหารสัตว์ราคาแพง   โดยตั้งกลุ่มผสมอาหาร-สัตว์ใช้เอง   นำร่อง 10 กลุ่ม   300 ราย
4.4)  การผลิตพันธุ์พืชอาหารสัตว์/เสบียงสัตว์     ให้เน้นคุณภาพ และการบริการเกษตรกร   เน้นประสิทธิภาพ   สร้างความพึงพอใจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

 กอส.

 5.งานพัฒนาปรับปรุงพันธุ์สัตว์

5.1) ผลิตพันธุ์สัตว์   ไม่น้อยกว่า  2,130,000 ตัว และกระจายพันธุ์สู่เกษตรกร   ไม่น้อยกว่า 52,100 ราย
5.2) แนวทางการผลิตพันธุ์สัตว์  ให้เน้นคุณภาพ และการบริการเกษตรกรเน้น ประสิทธิภาพ สร้างความพึงพอใจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
5.3) สร้างเครือข่ายผลิตผลิตพันธุ์สัตว์ โดยให้ศูนย์/สถานีประสานงานกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ 

กบส.,  สทป. 

 6.งานพัฒนาสุขภาพสัตว์

6.1) ฟาร์มสัตว์ปีกมาตรฐาน   ไม่เกิดโรคไข้หวัดนก  11,761 ฟาร์ม
6.2) ไม่เกิดโรค Exotic diseases  ภายในประเทศ
6.3) การเกิดโรคลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5   ได้แก่ 

      (1.) โรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์กีบคู่  

      (2.) โรคพิษสุนัขบ้า ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 

      (3.) โรคบรูเซลโลซีสในโค กระบือ แพะ  และ

      (4.) วัณโรคในโคนม กระบือ
6.4) โรคสัตว์ที่เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจและปัญหาทางสาธารณสุข อื่นๆ ต้องสามารถรู้โรคได้เร็ว  และควบคุมโรคได้    ตามเกณฑ์ที่กรมปศุสัตว์กำหนด
6.5) พัฒนาหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่   ในทุกเขตปศุสัตว์ 

สคบ.,สสช., สทช. 

 7.งานพัฒนาสินค้าปศุสัตว์

7.1) เร่งรัดการตรวจรับรองฟาร์มมาตรฐาน โดยเพิ่มรอบการตรวจ ให้ถี่ขึ้น
7.2) พัฒนาโครงการเขียงสะอาด ในทุกๆ จังหวัด
7.3) เร่งรัดการพัฒนาโรงฆ่าสัตว์   ที่ได้มาตรฐาน
7.4) พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับ    ในสุกรและวัว  

สพส.,  สตส. 

8. การบริหารงาน 

 8.1) ให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ  ดำเนินงานแบบมุ่งเน้นผลงานและคุ้มค่า
 8.2)  รูปแบบการทำงาน  ให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องบูรณาการกัน โดยยึดผลลัพธ์ของกรมปศุสัตว์เป็นเป้าหมาย
 8.3)  ประสิทธิภาพการทำงาน    ขอให้มีความรวดเร็ว  ถูกต้องแม่นยำ  ประหยัดค่าใช้จ่าย  และทันเวลา 

ผู้บริหาร และหัวหน้าส่วนราชการกรม-ปศุสัตว์-ทั่วประเทศ 

 9. การบริหารบุคคล

 9.1)  ผลการดำเนินงาน  ในปีงบประมาณ พ.ศ.2553
  (1.) เสนอปรับโครงสร้างสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด  ให้มีกลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศการพัฒนาปศุสัตว์
  (2.) การกำหนดตำแหน่งอำนวยการต้น เป็นอำนวยการสูง  ในสายการผลิต (กบส., กอส.)   สายปศุสัตว์จังหวัด   และสายบริหาร  (กกจ.,  กค.,  กผง.,   กนต.) 
9.2)  แผนการดำเนินงาน  ในปีงบประมาณ พ.ศ.2554
  (1.) วิเคราะห์โครงสร้างอัตรากำลัง
  (2.) โครงการ กกจ.สัญจร เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการบริหารบุคคล
  (3.) การจัดทำเส้นทางความก้าวหน้า  (Career Path)ของตำแหน่งงาน  ปศุสัตว์จังหวัด  และปศุสัตว์อำเภอ
  (4.) การจัดเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ (KM Forum) 

 กกจ.

10. การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี 

10.1) ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ  มีส่วนร่วม  และติดตามผล
10.2) หน่วยงานรับผิดชอบต้องเข้าใจและถ่ายทอดตัวชี้วัดอย่างชัดเจน
10.3) ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนรายงานผล 

 กกจ.,  กพร.

 11.การใช้จ่ายเงินงบประมาณ

11.1) การใช้จ่ายเงินงบประมาณ  ให้ได้ตามเป้าหมายของกรมปศุสัตว์    โดยมีเป้าหมายการเบิกจ่ายรายไตรมาสคือ   ไตรมาสที่ 1  ร้อยละ  25    ไตรมาสที่ 2  ร้อยละ  50   ไตรมาสที่ 3  ร้อยละ  75   และไตรมาสที่ 4  ร้อยละ  98
11.2) ให้ทุกหน่วยงานสำรวจและดำเนินการจัดการหนี้สินของทุกโครงการที่ยังคงค้างให้เสร็จสิ้นโดยเร็วด้วย 

กผง., กค., กนต., ตสน. 

12.การวางแผนปฏิบัติงาน และติดตามผล 

     ให้ทุกหน่วยจัดทำแผนปฏิบัติงานส่งให้    กองแผนงาน   ภายใน พ.ย. 2553   เพื่อใช้ในการติดตามประเมินผล 

กผง., หน่วยงาน กปศ.เชิงพื้นที่-จังหวัด 

  

     ทางกรมปศุสัตว์    ได้มีหนังสือแจ้งเวียนรายละเอียดนโยบายที่สำคัญของกรมปศุสัตว์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2554      เพื่อเผยแพร่ให้ข้าราชการ และคณะเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานกรมปศุสัตว์  ได้ทราบ  และดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง     นอกจากนี้  ขอให้หน่วยงานที่ระบุเป็นเจ้าภาพหลัก  จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายฯ  ให้กองแผนงาน  รวบรวมเสนอกรมปศุสัตว์ได้ทราบความคืบหน้าเป็นรายไตรมาส   (ทุกวันที่ 25 ของเดือนธันวาคม 2553    มีนาคม 2554   มิถุนายน 2554   และกันยายน 2554)  ตามแบบฟอร์มที่กำหนด

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
-
กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ กองแผนงาน กรมปศุสัตว์ โทร.0-2653-4444 ต่อ 2241

 

 


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ