pic01

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever : ASF) ว่าประเทศไทยไม่มีการแพร่ระบาดของโรคนี้และย้ำว่า ASF เป็นโรคที่เกิดเฉพาะในสุกรเท่านั้น ไม่ติดต่อหรือเป็นอันตรายต่อสัตว์อื่น ผู้บริโภคสามารถรับประทานหมูได้อย่างปลอดภัย 100 % ส่วนในต่างประเทศพบเกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรทางตอนเหนือประเทศเวียดนามเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 และมีการระบาดมายังตอนกลางของประเทศ ในปัจจุบัน ณ วันที่ 23 มีนาคม 2562 พบการระบาดทั้งสิ้น 366 ครั้ง ใน 20 จังหวัด มีการทำลายสุกรเพื่อควบคุมโรคจำนวน 46,600 ตัว ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคกรมปศุสัตว์จึงได้เสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด 16 จังหวัดชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร เลย อุตรดิตถ์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สระแก้ว จันทบุรีและตราด อาศัยอำนาจตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 ประกาศพื้นที่เฝ้าระวังโรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกร ในสุกรและหมูป่า ดังนั้น ผู้ที่จะเคลื่อนย้ายสุกรหรือหมูป่าเข้า ออก ผ่านหรือภายในจังหวัดที่ประกาศเขตเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ในสุกรและหมูป่า จะต้องได้รับอนุญาตจากสัตวแพทย์ซึ่งจะมีการตรวจสอบว่าปลอดจากโรคก่อนออกใบอนุญาตเคลื่อนย้ายทุกครั้ง อีกทั้งทำให้การบูรณาการการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครองร่วมกับสารวัตรกรมปศุสัตว์ในพื้นที่ในการป้องกัน ปราบปรามผู้ลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ ซากสัตว์เป็นไปอย่างมีเอกภาพ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล อีกทั้งได้จัดชุดเฉพาะกิจสารวัตรกรมปศุสัตว์ลงพื้นที่เสริมกำลังในการป้องกันโรคอย่างเต็มที่

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและพี่น้องประชาชนตามแนวชายแดนร่วมกันป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรไม่ให้เข้ามาระบาดในประเทศโดยช่วยเป็นหูเป็นตา หากพบเห็นผู้ที่ลักลอบนำสุกร ซากสุกรตลอดจนผลิตภัณฑ์จากสุกรเข้าประเทศไทยขอให้แจ้งสายด่วน 063-225-6888 หรือ ที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 “แจ้งเบาะแสการกระทำผิดกฎหมาย” เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดต่อไป

ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ