2565 03 22a 001

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยว่า กรมปศุสัตว์ สนองนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ขึ้นเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของชุมชนที่เกิดจากความต้องการของชุมชน และสามารถตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการด้านการเกษตรของชุมชนได้ สามารถเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเกษตร โดยเน้นการเรียนรู้จากเกษตรกรต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร การลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาคุณภาพ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต ตลอดจนการยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องตลอดฤดูกาลผลิต

กรมปศุสัตว์ จึงได้จัดตั้งศูนย์เครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรด้าน
ปศุสัตว์ หรือ ศพก. เครือข่าย (ด้านปศุสัตว์) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 จนปัจจุบันมี ศพก. เครือข่าย (ด้านปศุสัตว์) จำนวน ทั้งสิ้น 2,646 ศูนย์ ในทุกอำเภอทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นเครือข่ายของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขยายเป็นเครือข่ายในการให้ความรู้และให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านปศุสัตว์ เพื่อให้เกษตรกรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรต้นแบบ ในลักษณะของเกษตรกรสอนเกษตรกร ทำให้เกษตรกรที่มาเรียนรู้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่มีการใช้ปัจจัยการผลิตได้อย่างเหมาะสม และนำองค์ความรู้ที่ได้รับจาก ศพก. ไปประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตสินค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และมีระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังใช้เป็นจุดนัดพบในการพบปะพูดคุยของเจ้าหน้าที่กับเกษตรกร และเกษตรกรกับเกษตรกรด้วยกันเอง

นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ โดยกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ ได้จัดให้มีกิจกรรมคัดเลือกศูนย์เครือข่าย ศพก. (ด้านปศุสัตว์) ดีเด่นในระดับเขต จำนวน 9 เขต เป็นประจำทุกปี โดยคัดเลือกจากศูนย์เครือข่ายดีเด่นระดับจังหวัด เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุน การเพิ่มขีดความสามารถของศูนย์เครือข่าย ศพก. (ด้านปศุสัตว์) ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์ที่สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชน และสามารถเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรได้ โดยผลการคัดเลือกฯ ในปี พ.ศ. 2564 มีรายละเอียด ดังนี้

หน่วยงานจังหวัดอำเภอชื่อเจ้าของศูนย์ ศพก.สาขาปศุสัตว์

สำนักงานปศุสัตว์เขต 1

ชัยนาท

สรรคบุรี

นายอารมย์    เสนเลี้ยง

ไก่พื้นเมือง

สำนักงานปศุสัตว์เขต 2

ตราด

เมืองตราด

นายพรชัย  แนวพนา

ไก่ไข่

สำนักงานปศุสัตว์เขต 3

ยโสธร

กุดชุม

นายสุพี วงศ์พิทักษ์

โคเนื้อ

สำนักงานปศุสัตว์เขต 4

หนองคาย

โพธิ์ตาก

นายอานนท์  พิมพ์จักแสน

แพะเนื้อ

สำนักงานปศุสัตว์เขต 5

เชียงใหม่

ฝาง

นายสุจิน เสาวเปิ้ง

ไก่พื้นเมือง

สำนักงานปศุสัตว์เขต 6

ตาก

สามเงา

นางสาวปริณดา โอจันทร์

กระบือ

สำนักงานปศุสัตว์เขต 7

ประจวบคีรีขันธ์

บางสะพานน้อย

นายสุขสันต์ เครือแตง

แพะ

สำนักงานปศุสัตว์เขต 8

สุราษฎร์ธานี

ท่าชนะ

นายกองเดช  จรัญรักษ์

เป็ดไข่

สำนักงานปศุสัตว์เขต 9

นราธิวาส

ยี่งอ

นายอาเรส  หะมะ

ไก่ไข่

 

ทั้งนี้ เกษตรกรสนใจเข้าร่วมศึกษาเรียนรู้ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดใกล้บ้านท่าน


ที่มา : กลุ่มวิจัยและพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์

ข่าว : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมปศุสัตว์ ข่าวปศุสัตว์

 

2565_03_22a_001.jpg 2565_03_22a_002.jpg 2565_03_22a_003.jpg

2565_03_22a_004.jpg 2565_03_22a_005.jpg 2565_03_22a_006.jpg

2565_03_22a_007.jpg 2565_03_22a_008.jpg 2565_03_22a_009.jpg