นายสัตวแพทย์อภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงผลการพัฒนาโรงฆ่าสัตว์ภายในประเทศให้มีมาตรฐานเดียวกันกับมาตรฐานโรงฆ่าสัตว์ต่างประเทศ เพื่อให้ประชาชนในประเทศได้บริโภคอาหารที่ดีมีคุณภาพ มาตรฐานสากล

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการพัฒนาโรงฆ่าสัตว์ภายในประเทศ เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ดีมีคุณภาพ มาตรฐานสากล ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีโรงฆ่าสัตว์ที่มีใบอนุญาตตั้งโรงฆ่าสัตว์ โรงพักสัตว์และการฆ่าสัตว์ (ฆจส. ๒) จำนวน 2,313 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปี 2559 จำนวน 73 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 3.26 ร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ(ปศุสัตว์ OK) จำนวน 2,856 แห่ง และได้วางเป้าหมายให้โรงฆ่าสัตว์ทุกโรงมีใบอนุญาตตั้งโรงฆ่าสัตว์ โรงพักสัตว์และการฆ่าสัตว์ (ฆจส. ๒) และการปรับปรุงสุขลักษณะในการผลิตเนื้อสัตว์ เพื่อให้ได้เนื้อสัตว์ที่สะอาดและปลอดภัยต่อการบริโภค โดยมีพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 เป็นกฎหมายหลักในการบังคับใช้ และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการโรงฆ่าสัตว์ปรับปรุงพัฒนาโรงฆ่าสัตว์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีการผลิตเนื้อสัตว์ที่สะอาดและปลอดภัยต่อการบริโภคเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค รวมทั้งเป็นการสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดการค้าเสรี ภายใต้นโยบายการพัฒนาโรงฆ่าสัตว์ภายในประเทศ 5 ข้อ ดังนี้

  1. ให้มีโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐานในแต่ละชนิดสัตว์ทุกจังหวัด
  2. โรงฆ่าสัตว์ทุกแห่งต้องมีใบอนุญาตฯ (ฆจส .๒)
  3. มีรถห้องเย็นขนส่งซากสัตว์และเนื้อสัตว์ทุกอำเภอ
  4. มีร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่สะอาดถูกสุขลักษณะทุกอำเภอ
  5. มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญด้านเนื้อสัตว์ปลอดภัย

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การปรับปรุงพัฒนาโรงฆ่าสัตว์ให้ได้มาตรฐาน นั้นต้องดำเนินการอย่างบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกรมปศุสัตว์ได้ขอความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเสริมสนับสนุนให้นำสัตว์เข้าฆ่าในโรงฆ่าสัตว์ที่มีใบอนุญาตตั้งโรงฆ่าสัตว์ โรงพักสัตว์และการฆ่าสัตว์ (ฆจส. ๒) จัดทำแนวทางการพัฒนาโรงฆ่าสัตว์ภายในจังหวัด เพื่อกำหนดจำนวนโรงฆ่าสัตว์และแหล่งที่ตั้งของโรงฆ่าสัตว์ ควบคุมกำกับดูแลโรงฆ่าสัตว์ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตตั้งโรงฆ่าสัตว์ โรงพักสัตว์ และการฆ่าสัตว์ พ.ศ. 2555 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพิจารณาดำเนินการปรับปรุงสุขลักษณะในโรงฆ่าสัตว์ตามหลักการปฏิบัติที่ดี (Good Manufacturing Practices; GMP) จัดให้มีพนักงานตรวจโรคสัตว์ประจำโรงฆ่าสัตว์ทุกแห่ง ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปรับปรุงการขนส่งซากสัตว์และร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่ถูกสุขลักษณะ พร้อมทั้งรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่ปลอดภัย และถูกสุขอนามัย

นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ได้เน้นการพัฒนาบุคลากร เพื่อรองรับการดำเนินการให้ครอบคลุมงานในทุกๆ ด้าน โดยดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับโรงฆ่าสัตว์และผู้ประกอบการ จำนวน รวมทั้งสิ้น 8,383 คน ประกอบด้วย การฝึกอบรมผู้ประกอบการโรงฆ่าสัตว์ จำนวน 2,250 คน อบรมผู้ตรวจรับรองโรงฆ่าสัตว์ 473 คน อบรมพนักงานฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ประจำโรงงานฆ่าสัตว์ จำนวน 5,342 คน อบรมการปฏิบัติที่ดีในโรงฆ่าสัตว์ (GMP) จำนวน 318 คน


ที่มาของข้อมูล : สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์

เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์

http://secretary.dld.go.th/index.php/informationdld/newsdld/2601-91-2560


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ