กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรและ ชุมชน ด้วยการนำหลักการทฤษฎีและแนวทำงการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พระราชทานไว้ เกษตรกรสามารถลดรายจ่าย มีรายได้เพิ่มขึ้น มีการบริหารจัดการด้านการเกษตรตรงตามความต้องการของตลาดชุมชน เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ และก่อให้กระแสเงินหมุนเวียนในชุมชน

พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน เป็นโครงการฯ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน โดยชุมชนเป็นส่วนสำคัญในการดําเนินการเอง คิดเองร่วมกันภายในชุมชน ใช้วัสดุในชุมชนให้เกิดประโยชน์ เกิดความร่วมมือร่วมใจในการดําเนินการสร้างความยั่งยืนในชุมชน เกษตรกรสามารถทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน และเพิ่มรายได้ โดยใช้ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และเครือข่าย เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาภาคการเกษตรของชุมชนมีส่วนร่วมแบบประชารัฐอย่างยั่งยืน ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนแล้ว ยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกการทำงานในพื้นที่ ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์และนำไปปฏิบัติจริงเกิดผลอย่าง เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นและชุมชนอันจะส่งผลต่อเนื่องให้ภาคการเกษตรมีความ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป

นายสัตวแพทย์อภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า เป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมด้านปศุสัตว์ จำนวน 2,904 โครงการ แบ่งเป็น โครงการด้านการเลี้ยงสัตว์ปีก 1,869 โครงการ การเลี้ยงสุกร 548 โครงการ การเลี้ยงโค 47 โครงการ การเลี้ยงกระบือ 1 โครงการ การเลี้ยงแพะ 361 โครงการ การเลี้ยงแกะ 9 โครงการ การส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ 30 โครงการ และ การผสมผสานด้านปศุสัตว์ 12 โครงการ โดยบูรณาการร่วมกันระหว่างศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) พร้อมด้วย Smart Farmer, Young Smart Farmer และ ผู้นําชุมชน ร่วมทําความเข้าใจ ให้เกษตรกรมีส่วนร่วมมากที่สุด และรวมถึงการเชื่อมโยงระบบการส่งเสริมแปลงใหญ่ในพื้นที่

ซึ่งจากการดำเนินงานโครงการ 9101 ฯ นี้ เกษตรกรและชุมชนที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้เรียนรู้การทำอาชีพด้านปศุสัตว์ตามความสนใจและมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนตามความต้องการของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ลดต้นทุนการผลิต และลดการใช้สารเคมี ส่งผลให้กลุ่มมีกองทุนผลิตปุ๋ยหมุนเวียนต่อเนื่อง และต่อยอดในการสร้างอาชีพใหม่ให้แก่เกษตรกรที่อยู่ในชุมชน ตลอดจนเป็นแนวทางการสร้างอาชีพและรายได้ที่ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน


ที่มาของข้อมูล : กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์

เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์

http://secretary.dld.go.th/index.php/informationdld/newsdld/2818-9101-2-904-131-2560