14 03 66a 02
กรมปศุสัตว์ร่วมประชุมการดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนากระบือไทยในปี พ.ศ. 2566
นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมคณะฯ เข้าร่วมประชุมการดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนากระบือไทย ในปี พ.ศ. 2566 โดยมีพลอากาศตรี สุพิชัย สุนทรบุระ รองราชเลขาธิการพระราชวัง (5) ปฏิบัติหน้าที่ รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน หัวหน้าคณะทำงานฝ่ายอำนวยการกิจกรรมอนุรักษ์และพัฒนากระบือไทย เป็นประธานการประชุม ฯ เมื่อวันอังคารที่ 14 มีนาคม 2566 เวลา 09.30 น. ณ ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ถนนอู่ทองใน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
 โครงการอนุรักษ์และพัฒนากระบือไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นความร่วมมือระหว่างเกษตรกร ชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้เกิด การประสานสอดคล้อง และมีแนวทางการปฏิบัติ ด้านองค์ความรู้ตามหลักวิชาการ ในการพัฒนาคัดเลือกสายพันธุ์กระบือไทยที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน ให้คงอยู่ในกระบวนการผลิตกระบือไทยอย่างยั่งยืน และมีเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและครอบครัว สร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิต พร้อมกับอนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ กระบือไทยให้มีคุณภาพ ผลการดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนากระบือไทย ในปี พ.ศ. 2565 ในส่วนของกรมปศุสัตว์ มีกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 26 กลุ่ม เกษตรกร จำนวน 1,261 ราย กระบือ จำนวน 3,604 ตัว ดำเนินการผสมเทียมแม่พันธุ์กระบือที่สมบูรณ์ และมีความพร้อม โดยน้ำเชื้อพ่อพันธุ์กระบือชั้นดี ของกรมปศุสัตว์และจากภาคเอกชนที่สนับสนุนจำนวน 500 ตัว อีกทั้งยังให้การสนับสนุนกระบือพ่อพันธุ์เพื่อใช้ในการคุมฝูงกระบือแก่กลุ่มเกษตรกรที่มีปัญหาในการจับสัด ปัจจุบันมีลูกกระบือ จำนวน 217 ตัว เป็นเพศผู้ 108 ตัว เพศเมีย 109 ตัว กระบือกำลังตั้งท้อง จำนวน 357 ตัว  
 กรมปศุสัตว์ยังให้บริการตรวจการตั้งท้องของกระบือ ทำวัคซีนป้องกันโรคระบาดตำมโปรแกรมวัคซีนประจำปี และถ่ายยพยาธิกระบือ จัดทำบัตรประจำตัวสัตว์ของกระบือเข้าร่วมโครงการ ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้การเลี้ยงกระบือ สนับสนุนเวชภัณฑ์ แร่ธาตุก้อน และป้องกันกำจัดโรคสนับสนุนเมล็ดและท่อนพันธุ์พืชอาหารสัตว์ การนำหญ้าอาหารสัตว์พระราชทานไปให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดภัยพิบัติ หญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน ทั้งสิ้น 6,018,700 กิโลกรัม เกษตรกรที่ได้รับความช่วยเหลือทั้งสิ้น 41,883 ราย ช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนสัตว์ จำนวน 235,914 ตัว นอกจากนี้ ได้ดำเนินการดูแลสุขภาพสัตว์เพื่อป้องกันการเกิดโรคระบาดในพื้นที่ และมีแผนการดำเนินงานในการให้การรับรองการขึ้นทะเบียนพันธุ์กระบือปลักไทย เป็นหลักฐานยืนยันเพื่อการทรงสิทธิ์ในพันธุ์กระบือปลักไทย โดยบันทึกข้อมูลลักษณะ ประจำพันธุ์ อัตลักษณ์รูปร่างลักษณะภายนอกเฉพาะตัวต่างๆไว้ เพื่อให้ทราบโดยทั่วกันว่า ประเทศไทยเป็นผู้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์กระบือปลักไทยขึ้นตามหลักมาตรฐาน หลักวิชาการและวิทยาศาสตร์  และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์พันธุ์กระบือปลักไทย ให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงลักษณะอัตลักษณ์ รูปร่างลักษณะ ภายนอกที่ถูกต้องของกระบือปลักไทย และจะจัดให้มีการประกวดกระบือปลักไทยชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขึ้นในปี พ.ศ.2567 ที่ จ.นครราชสีมา
14_03_66a_01.jpg 14_03_66a_02.jpg 14_03_66a_03.jpg

14_03_66a_04.jpg 14_03_66a_05.jpg 14_03_66a_06.jpg

14_03_66a_07.jpg 14_03_66a_08.jpg 14_03_66a_09.jpg

14_03_66a_10.jpg 14_03_66a_11.png 14_03_66a_12.png

14_03_66a_13.png 14_03_66a_14.png 14_03_66a_15.png

14_03_66a_16.png 14_03_66a_17.png 14_03_66a_18.png