pic01

24 เมษายน 2562 เวลา 13.00น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับ Mr.Ryosuke OGAWA,Councillor,Minister's Secretarail ซึ่งควบตำแหน่ง DDG, Food Safety and COnsumer Affairs Bureau, MAFF ระหว่างวันที่ 23-25 เมษายน 2562 เพื่อหารือด้านการค้าสินค้าปศุสัตว์และความร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์วัชรพล โชติยะปุตตะ ผอ.กรป นายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล ผอ.สพส. และนายชลธิศักดิ์ ชาวปากน้ำ อัครราชฑูตที่ปรึกษา(ฝ่ายการเกษตร) ประจำประเทศญี่ปุ่น

สรุปประเด็นการหารือกับเจ้าหน้าที่ MAFF ดังนี้

  1. การส่งเจ้าหน้าที่แลกเปลี่ยนระหว่างMAFF และกรมปศุสัตว์ (DLD) ณ เมืองท่า เพื่อเป็นการศึกษาดูงานระหว่างสองประเทศและเป็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานด้านปศุสัตว์ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างดีมาโดยตลอด
  2. การส่งออกเนื้อสุกรจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทย ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียดเนื่องจากมีหลายประเด็นที่ทางประเทศญี่ปุ่นต้องมีการสแก้ไขและปรับปรุงเพื่อประกอบการพิจารณาในการนำเข้าเนื่อสุกรจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทย ต่อไป
  3. การส่งออก Feather meal (ขนไก่ป่น) เพื่อผลิตเป็นปุ๋ย ทั้งนี้บรษัทผู้ส่งอออยู่ระหว่างปรับปรุงโรงงานให้สอดคล้องกับ requirement ของทาง MAFF และฝ่ายไทยหวังว่าจะได้รับการพิจารณาในการเปิดตลาดสินดังกล่าวจากญี่ปุ่น ต่อไป
  4. การส่งออก Steamed leather meal (หนังโคป่น) เพื่อผลิตเป็นปุ๋ย ไปยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทางบริษัทผู้ส่งออกอยู่ในช่วงปรับปรุงโรงงานให้สอดคล้องกับ requirement ของทาง MAFF และฝ่ายไทยหวังว่าจะได้รับการพิจารณาในการเปิดตลาดสินดังกล่าวจากญี่ปุ่น ต่อไป
  5. การส่งออก Feather meal (ขนไก่ป่น) เพื่อผลิตเป็นอาหารสัตว์ เพื่อผลิตป็นอาหารสัตว์ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นนั้น กรมปศุสัตว์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการพิจารณาในการเปิดตลาด ต่อไป
  6. การขอเปิดตลาดเนื้อไก่พันธุ์พื้นเมืองจากประเทศไทยมายังญี่ปุ่น เนื่องจากประเทศไทยมีไก่พื้นเมืองที่มีคุณภาพและมีลักษณะเด่น คือมีคุณภาพเนื้อที่เหนียวนุ่มและมีคลอเรสเตอรอลต่ำ เช่น ไก่ประดู่หางดำ โดยกรมปศุสัตว์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการพิจารณาในการเปิดตลาดสินค้าดังกล่าว ต่อไป
  7. การพิจารณาโควตาการส่งออกเนื้อสุกรแปรรูปจากประเทศไทยไปประเทศญี่ปุ่น โดยกรมปศุสัตว์ขอขยายโควตาและการลดภาษีนำเข้าสินค้าผลิตภัณฑ์สุกรแปรรูปจากประเทศไทยไปประเทศญี่ปุ่นจาก4,500ตัน/ปี เป็น 12,000ตัน/ปี ต่อไป

ทั้งนี้ผลการหารือในวันนี้เพื่อสร้างความสัมพันธ์ความร่วมทางด้านวิชาการและความร่วมมือด้านสินค้าปศุสัตว์ไทย โดย กรมปศุสัตว์ไทยให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเนื่องจากสินค้าปศุสัตว์ไทยได้รับการยอมรับด้านคุณภาพในระดับสูงจากผู้บริโภคในตลาดญี่ปุ่นและตลาดโลก รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มและความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้แก่สินค้าปศุสัตว์ไทย ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งของอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าปศุสัตว์ไทย เพื่อให้กรมปศุสัตว์เป็นองค์การที่นำและขับเคลื่อนการปศุสัตว์ไทย สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในตลาดโลก” ต่อไป

ณ กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง ประเทศญี่ปุ่น(MAFF)กรุงโตเกียว ประเทศ(ญี่ปุ่น)

pic01.jpg pic02.jpg pic03.jpg

pic04.jpg pic05.jpg pic06.jpg

pic07.jpg

ที่มาของข้อมูล : คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์