S 2277454

วันที่ 7 มิถุนายน 2562 เวลา 14.30 น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการโคบาลบูรพา จังหวัดสระแก้ว พร้อมพูดคุยพบปะกลุ่มเกษตรกรโคเนื้อที่ร่วมโครงการ พร้อมด้วยนายชัยยุทธ เหลืองบุศราคัม ปศุสัตว์จังหวัดสระแก้ว ปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ โครงการโคบาลบูรพา จังหวัดสระแก้ว เกิดขึ้นเนื่องจากปริมาณโคเนื้อที่ลดลงจากภัยแล้ง ทำให้การผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์จัดทำโครงการขึ้น โดยดำเนินการในพื้นที่เขตอำเภออรัญประเทศ อำเภอโคกสูง และอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมการเลี้ยงโคเนื้อที่สำคัญ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2560 - 2565 (ระยะเวลา 6 ปี) จุดประสงค์ ดังนี้

  1. เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง เสริมอาชีพให้เกษตรกรในพื้นที่ สปก. ด้วยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชที่ไม่เหมาะสมหรือให้ผลผลิตต่ำสามารถสร้างรายได้มาเลี้ยงปศุสัตว์ได้อย่างมั่นคงและเป็นอาชีพที่ยั่งยืน
  2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อครบวงจรในพื้นที่ภาคตะวันออก
  3. เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชอาหารสัตว์ที่เข้าร่วมโครงการโคบาลบูรพา
  4. เพื่อส่งเสริมเกษตรกรแบบแปลงใหญ่ และจัดตั้งสหกรณ์เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการให้มีความมั่นคง ยั่งยืน

เป้าหมายการดำเนินโครงการ ดังนี้

  1. เกษตรกรยืมพันธุ์สัตว์เพื่อการผลิตลูก 6,100 ราย โดยเกษตรกร 6,000 ราย ยืมแม่พันธุ์โคเนื้อ 30,000 ตัว (รายละ 5 ตัว) และ เกษตรกร 100 ราย ยืมแพะเนื้อ 3,200 ตัว (รายละ 32 ตัว เพศผู้ 2 ตัว เพศเมีย 30 ตัว) และ
  2. เกษตรกรคืนลูกโคเนื้อเพศเมียอายุไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และแพะเนื้อเพศเมียอายุไม่ต่ำกว่า 6 เดือนตามจำนวนที่ยืม เพื่อกรมปศุสัตว์จะนำไปมอบให้เกษตรกรรายอื่นใช้ประโยชน์

ผลการดำเนินงานปัจจุบันได้มอบปัจจัยการผลิตเป็นแม่โคเนื้อให้เกษตรกรแล้วจำนวน 5,378 ราย แม่โคเนื้อ จำนวน 26,890 ตัว คิดเป็น89.6% ลูกเกิด จำนวน1,010 ตัว และคงเหลือการส่งมอบโคเนื้ออีก 10.4% ซึ่งจะเร่งทำการส่งมอบโคเนื้อที่มีสุขภาพดี ให้กับเกษตรกร ต่อไป

นอกจากนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์ได้พบปะพูดคุยกับกลุ่มเกษตรกรโคเนื้อที่เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเกษตรกรโคบาลหนองหญ้าปล้อง และกลุ่มเกษตรกรสามัคคีโคบาล เพื่อสอบถามปัญหา/อุปสรรค ความต้องการและความพึงพอใจการดำเนินโครงการทั้งนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์ให้ความมั่นใจกับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวว่า วัวทุกตัวที่ได้จากโครงการจะต้องมีสุขภาพดี มีความสมบูรณ์พันธุ์สามารถตั้งท้องและสามรถผลิตลูกได้ทุกตัว ซึ่งทำให้เกษตรกรในพื้นที่พึงพอใจเป็นอย่างมาก

ณ พื้นที่อำเภออรัญประเทศ และอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว

S__2277438.jpg S__2277439.jpg S__2277440.jpg

S__2277446.jpg S__2277448.jpg S__2277449.jpg

S__2277451.jpg S__2277452.jpg S__2277454.jpg

S__2277456.jpg