ข่าวพระราชกรณียกิจ/พระบรมราโชวาท/ถวายพระพร

No Gift Policy

ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับติดต่อกรมปศุสัตว์

การจัดประชุม /สัมมนา /การจัดงาน/ประชาสัมพันธ์

ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์กรมปศุสัตว์

ปฏิทินกิจกรรมผู้บริหารกรมฯ

ข่าวปศุสัตว์จากหนังสือพิมพ์

คำถามที่ถามบ่อย

ระบบการสื่อสารแบบรวมศูนย์ (workD Platform)

แบบสำรวจความพึงพอใจ

ข่าวสารผู้บริหารกรม / กระทรวง (ล่าสุด)

การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

สื่อประชาสัมพันธ์

แบบสอบถามผู้รับบริการ

ข่าวชี้แจงประเด็นสำคัญ

ข่าวสารหน่วยงานในสังกัดกรมปศุสัตว์

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

เอกสารประชาสัมพันธ์

ภาพอินโฟกราฟิกที่สำคัญ

ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2565

เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ/สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ

อาสาปศุสัตว์ดีเด่นแห่งชาติ

ส่งเสริมอาชีพ

ราคาสินค้าปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้

โครงการ JAEC

วีดีโอประชาสัมพันธ์

การป้องกันเฝ้าระวังโรค COVID-19

25630401 1covid

ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านปศุสัตว์

ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านปศุสัตว์

ภาพอินโฟกราฟิกด้านสนันสนุน

ข่าวประชาสัมพันธ์ทั่วไป

การขับเคลื่อนเพื่อประเทศไทย 4.0

การขับเคลื่อนตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ข้อมูลเปิดเผยภาครัฐ

โครงการที่สำคัญ/ลิงค์ประชาสัมพันธ์

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ป้องปรามการกระทำผิดด้านปศุสัตว์

QR Code เว็บไซต์กรมปศุสัตว์

dld qr code
www.dld.go.th

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์

มี 1044 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

ความหมายของตราสัญลักษณ์ประจำกรมปศุสัตว์

เครื่องหมายราชการกรมปศุสัตว์

ภาคภาษาไทย

เป็นรูปวงกลม มีกรอบล้อมรอบ กึ่งกลางมีรูป โคอุสุภราช มีนามว่า พระนนทิ ถือกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งสัตว์จัตุบาทและ ม้าฉันท์ เป็นม้าขาวคู่บารมีของพระพุทธเจ้า ทั้งโคและม้า ดังกล่าวถือว่าเป็นใหญ่กว่าสัตว์พาหนะทั้งมวล ช่วยกันประคองเรือนแก้วที่ประทับพระพิรุณทรงนาคให้ลอยอยู่เหนือเมฆ ดังนั้น ดวงตรานี้  จึงมีความหมายถึง ปศุสัตว์และสัตว์พาหนะทั้งมวลมีความอุดมสมบูรณ์ อยู่เย็นเป็นสุขปราศจากโรคภัยเบียดเบียน และมีข้อความ “กรมปศุสัตว์” อยู่ด้านล่างของตราสัญลักษณ์

สีประจำกรมปศุสัตว์ คือ สีฟ้าหม่น

ภาคภาษาอังกฤษ

มีองค์ประกอบเหมือนกับภาษาไทย แต่เปลี่ยนจากอักษรไทย เป็นภาษาอังกฤษ โดยใช้ข้อความว่า “Department of Livestock Development” อยู่ด้านล่างของตราสัญลักษณ์

ประวัติกรมปศุสัตว์

ปี

ประวัติกรมปศุสัตว์

พ.ศ.2447

ได้เริ่มกิจการทางสาขาสัตวแพทย์ขึ้นในกรมช่างไหม กระทรวงเกษตราธิการ

พ.ศ.2449

ได้มีการเปิดสอนวิชาสัตวแพทย์ขึ้นเป็นครั้งแรก

พ.ศ.2451

ได้เปลี่ยนชื่อ "กรมช่างไหม" เป็น "กรมเพาะปลูก"

พ.ศ.2463

ได้มีการจัดตั้งกิจการผสมสัตว์ และกิจการแผนกรักษาสัตว์ขึ้นในกรมเพาะปลูก

พ.ศ.2474

ได้โอนกรมเพาะปลูกไปร่วมกิจการของกองตรวจพันธุ์รุกขชาติ โดยจัดตั้งขึ้นเป็น "กรมตรวจกสิกรรม" สังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม

พ.ศ.2476

หลังการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 ได้แยกกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมออกเป็นกระทรวงคมนาคม และกระทรวงเกษตรพาณิชย์ซึ่งต่อมากระทรวงเกษตรพาณิชย์ได้เปลี่ยนเป็นกระทรวงเศรษฐการ

พ.ศ.2477

กรมตรวจกสิกรรม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมเกษตร" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมเกษตรและการประมง" โดยกิจการบำรุงพันธุ์สัตว์ การรักษาและป้องกันโรคสัตว์ได้รวมกันยกฐานะเป็น"กองอุตสาหกรรมสัตวพรรณ" ประกอบด้วย 8 แผนก คือ แผนกวิชาโรคสัตว์ แผนกวัคซีน และซีรั่ม แผนกปราบโรค แผนกด่านกักกันสัตว์ แผนกสัตว์ใหญ่ แผนกสุกร แผนกเป็ดไก่ และแผนกอาหารสัตว์

พ.ศ.2481

กองอุตสาหกรรมสัตวพรรณ ขยายงานแบ่งออกเป็น 2 กอง คือ กองสัตวรักษ์ และกองสัตวบาล

5 พฤษภาคม 2485

ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง "กรมปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ สังกัดกระทรวงเกษตราธิการและมี" การแบ่งส่วนราชการเป็น 4 กอง คือ สำนักงานเลขานุการ กองสัตวบาล กองสัตวรักษ์ และกองสัตวศาสตร์

15 กุมภาพันธ์ 2494

จัดระเบียบราชการกรมปศุสัตว์และสัตวพาหนะ เป็น 5 กอง ในส่วนกลาง และ 2 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค

8 มีนาคม 2495

ได้เปลี่ยนชื่อจาก "กรมปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ" เป็น "กรมการปศุสัตว์" สังกัดกระทรวงเกษตร ซึ่งเปลี่ยนจาก กระทรวงเกษตราธิการ แบ่งส่วนราชการเป็น 7 กอง ในส่วนกลางและ 3 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค ในปลายปี ๒๔๙๕ ได้ย้ายที่ตั้งกรมจากข้างป้อมพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ มาอยู่ ณ สถานที่ปัจจุบัน ถนนพญาไท เขตราชเทวี กทม.

26 ธันวาคม 2496

กรมการปศุสัตว์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมปศุสัตว์" สังกัดกระทรวงเกษตร

21 พฤษภาคม 2500

ได้มีพระราชกฤษฎีกาการจัดระเบียบราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรเป็น 8 กอง ในส่วนกลาง และ 2 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค

20 กรกฎาคม 2516

ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรเป็น 11 กอง ในส่วนกลาง และ 2 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค

22 เมษายน 2522

ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็น 13 กอง ในส่วนกลาง และ 2 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค

21 มกราคม 2527

ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็น 14 กอง ในส่วนกลาง และ 2หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค

11 มิถุนายน 2537

ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็น 16 กอง ในส่วนกลาง และ 2 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค

6 มกราคม 2555

ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็น 25 กอง ในส่วนกลาง และ 1 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค

30 ธันวาคม 2557

ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็น 26 กอง ในส่วนกลาง และ 2 หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค

ที่มา : สำนักงานเลขานุการกรม รายละเอียด


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ