Legal dld

25630805 1

วันที่ 4 สิงหาคม 2563 เวลา 16.00 น.

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ บันทึกเทปรายการเจาะใจ โชว์บทบาทของกรมปศุสัตว์ด้านความปลอดภัยอาหารตลอดห่วงโซ่อาหาร From Farm to Table ออกอากาศช่อง 9 MCOT HD วันเสาร์ที่ 29 ส.ค. 63 เวลา 22.00 น. ช่วง Main Talk มีคุณดู๋ สัญญา คุณากร เป็นพิธีกรรายการ ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีโอกาสดีๆ มีโอกาสในหลายด้าน ซึ่งนอกจากเรื่องสาธารณสุขที่ไม่เป็นรองใคร อีกเรื่องที่น่าสนใจมากคือการเป็น “ครัวของโลก” เพราะในแต่ละปีเราส่งออกสินค้าเกษตรทำรายได้เข้าประเทศนับหลายหมื่นล้านบาท หรือแม้แต่ช่วงโควิดที่ผ่านมา “สินค้าปศุสัตว์” จากบ้านเราก็สามารถก้าวขึ้นเป็นที่ 1 ในอาเซียนจากการส่งออกและเป็นลำดับที่ 4 ของโลก ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยที่เป็นที่ยอมรับระดับสากล โดยเบื้องหลังความสำเร็จนี้ คือการทำงานของกรมปศุสัตว์ร่วมกับทุกภาคีเครือข่าย ผลสำเร็จที่ชัดเจนคือ ประเทศไทยส่งออกสินค้าปศุสัตว์ปีหนึ่งกว่า 2 แสนกว่าล้าน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกปี มีทั้งที่เป็นสินค้าปศุสัตว์และอาหารสัตว์ โดยเฉพาะส่งออกสินค้าไก่เนื้อตอนนี้ เราเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากยุโรป อเมริกา และจีน จากความเชื่อมั่นในสินค้าปศุสัตว์ที่ได้การรับรองมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์ว่ามีคุณภาพได้มาตรฐาน มีการตรวจสอบแหล่งที่มา สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ มีการกำกับดูแลสินค้าปศุสัตว์ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง กรมปศุสัตว์ ดูแลทั้งห่วงโซ่อาหารเพื่อให้เกิดการผลิตสินค้าปศุสัตว์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง เริ่มตั้งแต่ปัจจัยการผลิต โรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าและโรงแปรรูป และสถานที่จำหน่าย จนถึงมือผู้บริโภค ให้มีความปลอดภัยอาหารตลอดห่วงโซ่อาหาร From Farm to Table โดยการควบคุม กำกับดูแล มีการตรวจสอบย้อนกลับ และให้การรับรองมาตรฐานการผลิตสินค้าปศุสัตว์ให้มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศมั่นใจในสินค้าปศุสัตว์ ในแต่ละขั้นตอนมีการกำกับดูแลโดยเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์และมีกฎหมายและระเบียบที่บังคับใช้ชัดเจน มีการทำโครงการด้านความปลอดภัยอาหารเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศมากมาย ได้แก่

  1. โครงการปศุสัตว์ OK ที่รับรองสินค้าเนื้อสัตว์และไข่ (เลือกซื้อสินค้าปลอดภัย เลือกซื้อสินค้าภายใต้สัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK”)
  2. โครงการมาตรฐาน "Q" ที่บ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้นผ่านทุกขั้นตอนที่ได้มาตรฐาน ตั้งแต่ฟาร์มเลี้ยง โรงฆ่า และสถานที่จำหน่าย
  3. โครงการเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะในระบบผลิตสินค้าปศุสัตว์ เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงปศุสัตว์ มีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการมาก สามารถลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะลงได้ โดยที่อัตราการสูญเสียการผลิตไม่แตกต่างจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ลดปัญหาการเกิดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในสินค้าปศุสัตว์ ผู้บริโภคมีช่องทางการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งปัจจุบันมีสถานที่จำหน่ายมากกว่า 100 แห่ง และ
  4. โครงการแก้ไขปัญหาการใช้สารเร่งเนื้อแดงในฟาร์มสุกรและโคขุน มีการใช้ ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ (Mobile Lab) ในการตรวจวิเคราะห์หาสารเร่งเนื้อแดงได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถปฏิบัติงานเคลื่อนที่ได้ทั่วประเทศ

นอกจากนี้กรมปศุสัตว์มี New Normal เช่น มีระบบ New E-movement การออกใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนกว่า 150,000 ราย และมีการออกใบอนุญาตผ่านระบบกว่า 600,000 ครั้ง และระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ NSW ในการขออนุญาตนำเข้าผลิต-ขายอาหารสัตว์ วัตถุอันตรายด้านปศุสัตว์ รวมทั้งการยื่นขอรับรองโรงงานผลิตอาหารสัตว์ผ่านทางออนไลน์ ซึ่งเป้าหมายต่อไป กรมปศุสัตว์จะขยายการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ของประเทศให้มากขึ้น สร้างรายได้ให้ประเทศมากขึ้น รักษาระบบการสร้างมาตรฐานคุณภาพ และความปลอดภัยของสินค้าปศุสัตว์ทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง และมุ่งพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนและการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการทำงานของเจ้าหน้าที่เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยกระดับการให้บริการประชาชนต่อไป

 ณ ห้องอัดสตูดิโอ JSL รายการเจาะใจ กรุงเทพฯ อ่านรายละเอียด

คลิกชมรายการเจาะใจภารกิจของกรมปศุสัตว์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าเกี่ยวข้องกับประชาชนไทย และการเป็นครัวของโลก  https://youtu.be/MP1uiYwNgTI


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline