pic00

กรุงเทพฯ 5 ม.ค. – กรมปศุสัตว์เตือนผู้เลี้ยงโคขุนห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดง ย้ำมีโทษตามกฎหมาย อันตรายต่อผู้บริโภค พร้อมหารือภาคส่วนต่างๆ ออกมาตรการคุมเข้มห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดง ตรวจสอบการขายสารเร่งเนื้อแดงผ่านออนไลน์ ตรวจหาการตกค้างในเนื้อโคและโคขุนส่งออก แล้วตรวจสอบย้อนกลับไปยังฟาร์มจนถึงแหล่งผลิต ตลอดจนจะบังคับใช้กฎหมายเพื่อปกป้องสุขภาพผู้บริโภคและสร้างความเชื่อมั่นแก่ประเทศคู่ค้าในการส่งออกโค

นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดงในโคขุน เพื่อปกป้องสุขภาพของผู้บริโภคในประเทศ รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประเทศคู่ค้าการส่งออกผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์

ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้หารือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สมาคมโคเนื้อแห่งประเทศไทย สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงโคพันธุ์บราห์มัน สมาคมผู้บำรุงพันธุ์โคพันธุ์บราห์มันแห่งประเทศไทย สมาคมโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน สหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด สมาคมบีฟมาสเตอร์แห่งประเทศไทย สหกรณ์เครือข่ายโคเนื้อ จำกัด สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทยฯ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาเกษตรกรแห่งชาติ บริษัท อิบรอฮีม แอนด์ บีฟ จำกัด บริษัท นิดา ฟู้ด จำกัด รวมถึงผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจการเลี้ยงโคเนื้อ เพื่อร่วมกันพิจารณามาตรการป้องกันและปราบปรามการลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดง โดยได้กำหนดมาตรการ ดังนี้

– สอดส่องและจับกุมการขายสารเร่งเนื้อแดงผ่านช่องทางออนไลน์ โดยตั้งทีมเฉพาะกิจทางไซเบอร์ขึ้นมาดำเนินการ

– สุ่มเก็บตัวอย่างเนื้อโคเพื่อตรวจหาการตกค้างของสารเร่งเนื้อแดง หากพบจะตรวจสอบย้อนไปยังฟาร์มเลี้ยงโคและแหล่งผลิต

– สุ่มเก็บตัวอย่างปัสสาวะในโคขุนที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยใช้ชุดทดสอบภาคสนาม (strip test) เพื่อตรวจสอบการใช้สารเร่งเนื้อแดง

นายสัตวแพทย์สมชวน กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากสถานการณ์ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่แพงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะโคขุนที่ใช้ทั้งอาหารข้นและอาหารหยาบในการเลี้ยงเพื่อให้แลกเปลี่ยนเป็นเนื้อ เพื่อเป็นการลดต้นทุนเกษตรกรบางราย อาจนำสารเร่งเนื้อแดงไปผสมในอาหารสัตว์ เพื่อวัตถุประสงค์เร่งการเจริญเติบโต ลดปริมาณไขมันในเนื้อสัตว์ ตลอดจนเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อ และทำให้เนื้อสัตว์สีแดงน่าบริโภค ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อสั่น กระตุ้นการเต้นของหัวใจ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียนปวดศีรษะ ซึ่งในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ โรคลมชัก โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ตลอดจนหญิงมีครรภ์ จะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับอันตรายจากสารเร่งเนื้อแดงที่ตกค้างในเนื้อสัตว์

ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางอาหาร (food safety) กำกับ ดูแลความปลอดภัย ในการผลิตสินค้าปศุสัตว์ตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่วัตถุดิบอาหารสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ โรงแปรรูป ตลอดจนสถานที่จำหน่าย และการส่งออก ซึ่งทุกขั้นตอนการผลิตต้องมีคุณภาพมาตรฐาน ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย มาตรฐานสากล หรือเงื่อนไขของประเทศคู่ค้า เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคภายในประเทศ รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นแก่ประเทศคู่ค้าการส่งออกผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ที่ผ่านมาได้ดำเนินการป้องกันและปราบปรามการใช้สารเร่งเนื้อแดงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 สามารถจับกุมดำเนินคดีได้ 11 คดี มีโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ       

นายสัตวแพทย์สมชวน กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอเตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุน ห้ามนำสารเร่งเนื้อแดงมาใช้ในการเลี้ยงโค นอกจากจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายแล้ว ยังส่งผลที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคอีกด้วย และหากประชาชนพบเห็นผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการใช้สารเร่งเนื้อแดงในโค ให้แจ้งเบาะแสผ่าน Application DLD 4.0 หรือผ่านทางศูนย์รับข้อร้องเรียนกรมปศุสัตว์ โทรศัพท์ 02 6534444 ต่อ 2134.

ที่มาของข้อมูล : เว็บไซต์สำนักข่าวไทย  https://tna.mcot.net/agriculture-1088922


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline