2564 10 02d 002ประชุมคณะอนุกรรมการวิเคราะห์การผลิต และการตลาดสุกรภายใต้คณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (Pig Board)


วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน 2564 เวลา 14.30 น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ มอบหมายให้ นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการวิเคราะห์การผลิต และการตลาดสุกร ภายใต้คณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (Pig Board) โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคม ผู้ประกอบการ เข้าร่วมประชุม ผ่านระบบออนไลน์ zoom ในการประชุมครั้งนี้ได้กล่าวถึงสถานการณ์การผลิตการตลาดสุกรในปัจจุบันถึงปริมาณการผลิตสุกรขุนปี 2564 ไตรมาสที่ 3 เป็น 5.49 ล้านตัว คิดเป็นเนื้อสุกร 412.28 พันตัน ปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 คิดเป็น ร้อยละ 0.75 เนื่องจากสุกรขุนที่นำเข้าเลี้ยงในไตรมาสแรกเคยขยายการเลี้ยงจากภาวะราคาที่จูงใจในช่วงปลายปี 2563 ได้น้ำหนักตามที่กำหนด แต่ยังคงมีความเสี่ยงจากปัญหาสุขภาพสุกร ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ที่ส่งผลกระทบต่อการกระจายสินค้าเนื้อสุกรในบางพื้นที่ และการส่งออกสุกรมีชีวิตไปประเทศเพื่อนบ้านลดลงเป็นอย่างมาก ด้านต้นทุนการผลิตสุกร ไตรมาส 3/2564 (กรณีซื้อสุกรมาเลี้ยง)เฉลี่ย กิโลกรัมละ 80.03 บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/2564 ร้อยละ 2.20 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ร้อยละ 17.10 เนื่องจากราคาสุกรที่เกษตรกรซื้อมาเลี้ยงปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ส่วนราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ ไตรมาส 3/2564 เฉลี่ย กิโลกรัมละ 71.57 บาท ลดลงจากไตรมาส 2/2564 ร้อยละ 8.00 และลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ร้อยละ 9.75 ราคาขายปลีกเนื้อสุกรชำแหละ ไตรมาส 3/2564 เฉลี่ย กิโลกรัมละ 134.67 บาท ลดลงจากไตรมาส 2/2564 ร้อยละ 8.58 ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ การส่งออกสุกรมีชีวิตในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 เป็น 1,017,102 ตัว ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2563 ร้อยละ 49.66 เป็นสุกรขุน จำนวน 960,417 ตัว ลดลงร้อยละ 49.83 เป็นสุกรแม่พันธุ์จำนวน 57,685 ตัว ลดลงร้อยละ 46.49 สำหรับการส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์รวมทั้งสิ้น 35,853.30 ตัน เป็น หนังฟอก 14,846.60 ตัน เนื้อสุกร 15,039.90 ตัน เนื้อสุกรแปรรูป 5,560.60 ตัน เปรียเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2563 พบว่า ส่งออกหนังฟอกลดลงร้อยละ 0.12 และส่งออกเนื้อสุกรลดลงร้อยละ 28.95 การนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกร ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 เป็น 68,248.41 ตัน โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ร้อยละ 32.70 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าชิ้นส่วนอื่นของสุกร จำนวน 67,963.54 ตัน ประกอบด้วย หนังสุกร 53,231.66 ตัน เครื่องในสุกร 14,722.33 ตัน นอกจากนี้ยังได้พิจารณาประเมินสถานการณ์การผลิตสุกร ไตรมาส 4/2564 เกี่ยวกับปัญหาความเสี่ยงด้านสุขภาพสุกรที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตสุกรขุนที่ออกสู่ตลาด โดยกรมปศุสัตว์ได้ร่วมมือกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติด้วยการทำลายสุกร เพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาสุขภาพในบางพื้นที่ ประกอบกับเกษตรกรมีการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ระบบมาตรฐานใหม่ที่มีความปลอดภัยทางชีวภาพเพิ่มขึ้น โดยปรับเป็นฟาร์มมาตรฐาน GFM และ GAP โดยในระยะปรับตัวไม่มีการนำแม่พันธุ์เข้าเลี้ยง ส่งผลกระทบต่อจำนวนแม่พันธุ์สุกรในระบบลดลง และพยากรณ์ผลผลิตสุกรขุน ปี 2565 ณ ห้องประชุมชัยอัศวรักษ์ ชั้น 2 ตึกชัยอัศวรักษ์ กรมปศุสัตว์

2564_10_02d_001.jpg 2564_10_02d_002.jpg 2564_10_02d_003.jpg

2564_10_02d_004.jpg 2564_10_02d_005.jpg 2564_10_02d_006.jpg

2564_10_02d_007.jpg 2564_10_02d_008.jpg 2564_10_02d_009.jpg

2564_10_02d_010.jpg

ภาพ/ข่าว กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์