2565 03 15a 003

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับ นายบุณยฤทธิ์  กัลยามิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานร่วมการ ประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานเรื่องปุ๋ย อาหารสัตว์ และผลไม้ในประเด็นราคาและการนำเข้า/ส่งออก  โดยมีกรมปศุสัตว์เข้าร่วมให้ข้อมูลด้านปศุสัตว์และอาหารสัตว์ 
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ มอบหมายให้นายสัตวแพทย์โสภัชย์  ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์  พร้อมด้วยนายวิวัฒน์  ไชยชะอุ่ม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ นายเศกสรรค์ สวนกูล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ และพร้อมด้วยผู้แทนจากกองควบคุมอาหารและยาสัตว์  เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานเรื่องปุ๋ย อาหารสัตว์ และผลไม้ในประเด็นราคาและการนำเข้า/ส่งออก ในวันอังคารที่  15  มีนาคม 2565  เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม 134 – 135 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยในที่ประชุมฯ นายสัตวแพทย์โสภัชย์  ชวาลกุล  รองอธิบดีกรมปศุสัตว์  ได้กล่าวให้ข้อมูลโดยสรุปถึงภาพรวมความต้องการด้านอาหารสัตว์ตามชนิดสินค้าปศุสัตว์ ที่คาดการณ์ถึงปริมาณการใช้อาหารสัตว์ในปี 2565 จำนวน 22.41 ล้านตัน และคาดการณ์ในปี 2566 ประมาณ 23.27 ล้านตัน โดยอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อมีความต้องการใช้อาหารสัตว์มากถึงร้อยละ 40 ตามด้วยอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรและไก่ไข่ที่ร้อยละ 34 และ 11 ตามลำดับ ซึ่งทำให้ความต้องการวัตถุดิบหลักอาหารสัตว์ ได้แก่ ข้าวโพดเมล็ด กากถั่วเหลือง ปลายข้าว และปลาป่น ยังคงมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นในปี 2565 และ 2566 และด้วยจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโคโรน่าไวรัส 2019 (โควิด-19) ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้วัตถุดิบอาหารสัตว์มีการปรับราคาสูงขึ้น และทำให้เกิดปัญหาต้นทุนราคาอาหารสัตว์ของเกษตรกรผู้ลเี้ยงสัตว์ได้ 
ดังนั้น กรมปศุสัตว์จึงได้ให้ตำแนะนำและเสนอแนวทางลดต้นทุนอาหารสัตว์ให้แก่เกษตรกร เช่น ส่งเสริมให้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่น การลดปริมาณการสูญเสียอาหารสัตว์ในขึ้นตอนการผลิต และการบริหารจัดการวัตถุดิบอาหารสัตว์ร่วมกันกับเกษตรกรรายอื่นเพื่อลดต้นทุนต่อหน่วยลงให้ได้มากที่สุด และสำหรับผู้ประกอบการก็แนะนำให้เพิ่มการซื้อและใช้วัตถุดิบพืชอาหารสัตว์ภายในประเทศ  เช่น  ข้าวและผลพลอยได้จากข้าว และมันสำปะหลัง  และยกระดับการผลิตวัตถุดิบพืชอาหารสัตว์ในประเทศ  (ปรับปรุงพันธุ์ เทคโนโลยีการจัดการฯ เพื่อลดต้นทุน การตลาด/จับคู่ ซื้อ-ขาย)
 
กรมปศุสัตว์ได้ให้การสนับสนุนสำหรับแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ เช่น กรมปศุสัตว์ให้บริการเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อผลิตอาหารสัตว์ โดยสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ จำนวน 33 แห่ง ทั่วประเทศไทย นอกจากนี้ผู้ที่สนใจยังสามารถเข้าศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องของสูตรอาหารสัตว์ลดต้นทุนของอาหารสุกร สัตว์ปีก โคเนื้อ และดคนมผ่านทางเวปไซต์ของสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ( https://nutrition.dld.go.th/nutrition/index.php/2015-08-06-09-04-25) นอกจากนั้น กรมปศุสัตว์ โดยสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ได้จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ให้บริการที่ฟาร์มเกษตรกรแนะนำการให้อาหารสัตว์ และการปรับสูตรอาหารสัตว์  บริการให้คำแนะนำเกษตรกรรายย่อย ทั้งนี้สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ หรือ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ จำนวน 33 แห่ง ของกรมปศุสัตว์
2565_03_15a_001.jpg 2565_03_15a_002.jpg 2565_03_15a_003.jpg

2565_03_15a_004.jpg 2565_03_15a_005.jpg 2565_03_15a_006.jpg

2565_03_15a_007.jpg 2565_03_15a_008.jpg 2565_03_15a_009.jpg

2565_03_15a_010.jpg 2565_03_15a_011.jpg 2565_03_15a_012.jpg

ภาพ กิตติพรรณ จินดามัง / ข่าว พิจารณา สามนจิติ / กลุ่มเผยแพร่ / สลก.