2565 08 25a 002 resize 

กรมปศุสัตว์ ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ไปจนถึงการแปรรูป ให้ผลผลิตของเกษตรกรสามารถจำหน่ายสู่ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศได้ สร้างรายได้ที่มั่นคง ตามนโยบาย “ตลาดนำการผลิต” ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายสัตวแพทย์ประภาส ภิญโญชีพ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการเพิ่มศักยภาพบุคลากรกองผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (OTOP) ประเภทผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ในวันที่ 25 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมฟูราม่าเอ็กซ์คลูซีฟ แซนดารา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
กรมปศุสัตว์ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินการโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (OTOP) ประเภทผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ โดยมุ่งเน้นการนำผลผลิตจากการเลี้ยงปศุสัตว์ในพื้นที่มาแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นและพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (OTOP) ตลอดจนส่งเสริมผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชนให้สามารถผลิตและจำหน่ายสินค้าชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรในชุมชนให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตและยั่งยืน
โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (OTOP) ประเภทผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการของกรมปศุสัตว์ ภายใต้การดำเนินงานของกองผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ที่สามารถพัฒนาศักยภาพเกษตรกรเครือข่ายกรมปศุสัตว์ ให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์จากผลผลิตปศุสัตว์ที่เลี้ยงในพื้นที่เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น สามารถเก็บรักษาได้นาน เหมาะที่จะเป็นสินค้าของฝากประจำจังหวัด 
กรมปศุสัตว์ ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปสู่การพัฒนาสินค้าปศุสัตว์ด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) ที่คำนึงถึงวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้อยู่ภายใต้ เศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล ให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน โมเดลเศรษฐกิจ BCG จึงเป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ที่รัฐบาลมุ่งใช้ขับเคลื่อนนำพาประเทศก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 โดยสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการเติบโตโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่บุคลากรของกรมปศุสัตว์ต้องมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำเอาโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนภารกิจกรมปศุสัตว์ได้ 
การดำเนินการที่ผ่านมาได้คัดเลือกกลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพ และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปทุมธานี เชียงใหม่และ มหาสารคาม ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนในพื้นที่ปศุสัตว์ทั้ง 9 เขต จนได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกษตรกรได้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP จากสำนักงานพัฒนาชุมชน กรมพัฒนาชุมชนแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 9 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ สเต็กหมูชัยนาท ไก่ย่างกระวานจันทบุรี หม่ำชัยภูมิ หมูหันแก่งกระเบามุกดาหาร เนื้อสเต๊ะพะเยา เนื้อแดดเดียวอุตรดิตถ์ ไส้อั่วโคขุนเห็ดโคนเมืองกาญ แกงแพะทะเลใต้กระบี่ ไก่สับเบตงพิกุลทองนราธิวาส 
อีกทั้งเกษตรกรทั้ง 9 แห่ง ยังได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดให้กับผู้ผลิตสินค้าชุมชน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตลาดทั้งออนไลน์ และออฟไลน์รวมไปถึงกระบวนการขนส่งสินค้าให้สามารถเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น และเพื่อให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนในปีต่อไปเกิดประสิทธิภาพสูงสุด 
.........................................
ภาพ กิตติพรรณ จินดามัง / ข่าว น้องนุช สาสะกุล
ข้อมูล : กองผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ //เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมปศุสัตว์
2565_08_25a_001_resize.jpg 2565_08_25a_002_resize.jpg 2565_08_25a_003_resize.jpg

2565_08_25a_004_resize.jpg 2565_08_25a_005_resize.jpg 2565_08_25a_006_resize.jpg

2565_08_25a_007_resize.jpg 2565_08_25a_008_resize.jpg 2565_08_25a_009_resize.jpg

2565_08_25a_010_resize.jpg 2565_08_25a_011_resize.jpg 2565_08_25a_012_resize.jpg

2565_08_25a_013_resize.jpg 2565_08_25a_014_resize.jpg 2565_08_25a_015_resize.jpg

2565_08_25a_016_resize.jpg 2565_08_25a_017_resize.jpg 2565_08_25a_018_resize.jpg