2566 02 15b 004"ปศุสัตว์หารือร่วมผู้ประกอบการส่งโคมีชีวิตไปจำหน่ายเวียดนาม ผลักดันส่งออกโคเนื้อให้ได้เร็วที่สุด"

กรมปศุสัตว์ได้เชิญผู้ประกอบการและผู้ส่งออกโคเนื้อมีชีวิตกว่า 40 ราย ประชุม ณ ห้องประชุมพระพิรุณ กรมปศุสัตว์ ในวันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 14.00 น. โดยนายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ประธานการประชุมหารือร่างวิธีการปฏิบัติเพื่อส่งโคมีชีวิตไปจำหน่ายต่างประเทศ พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายวิวัฒน์ ไชยชะอุ่ม ผอ. กสส. น.สพ. ชุติพนธ์ ศิริมงคลรัตน์ ผอ. กสก.  ดร. อำพล วริทธิธรรม ผอ. กผส. น.สพ. รักไทย งามภักดิ์ รักษาการ ผอ. สพส. น.สพ. วัชรพล โชติยะปุตตะ ผอ. กรป. สพ.ญ. วนิดา แจ้งประจักษ์ ผอ. อยส. น.สพ.เลิศชัย จินตพิทักษ์สกุล ผอ.สถาบันสุขภาพสัตว์ฯ ดร.แสนศักดิ์ นาคะวิสุทธิ์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาวิชาการปศุสัตว์  และเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม

สืบเนื่องจากปลายปี 2565 เจ้าหน้าที่กรมสุขภาพสัตว์ ประเทศเวียดนาม ตรวจพบสารเร่งเนื้อแดง หรือ ซาลบูลทามอล ในโคขุนจากประเทศไทย เกินค่ามาตรฐานสูงถึง 130 เท่า ทำให้เวียดนามสั่งระงับนำเข้าโคขุนจากประเทศไทย ซึ่งในขณะนี้เวียดนามอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ความเสี่ยงการนำเข้าโคมีชีวิตจากไทย และขอให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการ 3 ข้อ ประกอบด้วย จัดส่งร่างใบรับรองสุขภาพสัตว์ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์โรคปัจจุบัน ระบุข้อมูลเพิ่มเติม ได้แก่ หมายเลขเบอร์หูโค สายคล้อง (zeal) รถขนส่ง จัดส่งรายชื่อสารต้องห้ามในการผลิตปศุสัตว์ ผลการเฝ้าระวังการตรวจสอบและการรับรองการปลอดสารต้องห้ามของไทย และระงับการออกใบรับรองสุขภาพสัตว์เพื่อการส่งออกโคจนกว่าจะมีข้อตกลงร่วมกันในเรื่องนี้

ในส่วนของกรมปศุสัตว์ ได้ดำเนินการส่งข้อมูลเพื่อประเมินความเสี่ยงในการนำเข้าโคไปยังเวียดนาม ตามข้อเรียกร้อง ประกอบด้วย ใบรับรองสุขภาพสัตว์เพื่อการส่งออกโคไปยังเวียดนามได้รับการแก้ไข้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคระบาดสัตว์เรียบร้อยแล้ว โดยได้เพิ่มการระบุหมายเลขเบอร์หูโค หมายเลขฉลากกำกับที่ติดไปกับพาหนะขนส่ง ข้อความระบุรับรองการห้ามใช้สารต้องห้ามการผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ รายละเอียด พรบ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 การห้ามใช้สารต้องห้ามและโทษปรับ เอกสารรับรองกระบวนการตรวจทางห้องปฏิบัติการด้านการปลอดสารเร่งเนื้อแดงและความถี่ในการเก็บตัวอย่าง รายชื่อฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดงที่รับรองโดยกรมปศุสัตว์ ทั้งนี้ ได้ยืนยันว่าจะไม่มีการออกใบรับรองสุขภาพสัตว์เพื่อการส่งออกโคไปยังเวียดนามในระหว่างการแก้ไขใบรับรองสุขภาพสัตว์

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณามาตรการเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฟาร์มโคเนื้อส่งออกต้องได้รับการรับรองเป็นฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดง กรณีที่ไม่อยู่ในรายชื่อฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดงให้หน่วยงานกรมปศุสัตว์ในท้องที่ตรวจสารเร่งเนื้อแดงในปัสสาวะ พร้อมออกหนังสือรับรองผลการตรวจให้ด่านกักกันสัตว์ปลายทางรับทราบ มีการตรวจสอบรับรองฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดงอีกครั้ง ตามรายชื่อฟาร์มปลอดสารฯ ที่ได้รับการรับรอง 183 ฟาร์ม ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้เคยส่งรายชื่อฟาร์มดังกล่าวให้กรมสุขภาพสัตว์ เวียดนาม พิจารณา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเป็นการเปิดโอกาสให้ฟาร์มที่สนใจจะส่งออกโคไปขาย ณ ต่างประเทศ การระบุตัวสัตว์และยานพาหนะ โดยโคเนื้อที่ส่งออกต้องมีหมายเลขเบอร์หูสีเหลืองตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด ยานพาหนะขนส่งต้องมีหมายเลขสายคล้อง (seal) ปิดผนึกรถขนส่ง ความเข้มงวดในการตรวจสอบการส่งออกโคเนื้อเพื่อมิให้มีการลักลอบส่งออกโคที่ไม่ได้รับอนุญาตข้ามเขตแดน การสุ่มตรวจสารเร่งเนื้อแดง โดยสุ่มตรวจทางปัสสาวะของโคเนื้อจำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์พื้นที่ต้นทางตรวจที่คอกสัตว์ต้นทางก่อนขึ้นรถ ครั้งที่ 2 ก่อนการข้ามชายแดนที่ด่านกักกันสัตว์ โดยใช้ชุดตรวจสารเร่งเนื้อแดง (Strip test) โคเนื้อที่ส่งออกต้องได้รับวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) และ โรคลัมปีสกิน (LSD) และการขึ้นทะเบียนบริษัท โดยบริษัทที่ประสงค์ขนส่งโคเนื้อจากไทยไปเวียดนามต้องขึ้นทะเบียนบริษัทเพื่อสามารถตรวจสอบได้และเป็นข้อมูลประกอบการขนส่งโค ทั้งนี้ ทางเวียดนามจะเป็นผู้คัดเลือกบริษัทหรือรับรองฟาร์มที่กรมเสนอไป

นายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีและโฆษกกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า "ตามที่กรมสุขภาพสัตว์เวียดนาม (DAH) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้ชะลอการนำเข้าโคเนื้อมีชีวิตจากประเทศไทยตามที่ได้เป็นข่าวมาแล้วนั้น กรมปศุสัตว์ โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ (นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์) ไม่ได้นิ่งนอนใจในแก้ไขปัญหาดังกล่าว ยังกำชับ และติดตามอย่างใกล้ชิดในการแก้ไขปัญหาการส่งออกโคเนื้อมีชีวิต โดยได้ดำเนินการติดตามปัญหามา และหารือร่วมกันกับหน่วยงานภายในกรมปศุสัตว์มาโดยตลอด รวมทั้งการตรวจสอบที่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และด่านกักกันสัตว์ต่างๆ ร่วมมือในการติดตาม ตรวจสอบ และกำกับดูแลการเลี้ยงโคเนื้อเพื่อให้ได้ตามมาตรฐานตามที่หน่วยงาน DAH ประกาศข้อกำหนดไว้ โดยมีข้อตกลงในมาตรการเพิ่มเติมของการส่งโคเนื้อมีชีวิตไปยังประเทศเวียดนาม จำนวน 7 ข้อ ได้แก่

  1. 1. ฟาร์มโคเนื้อส่งออกต้องได้รับการรับรองเป็นฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดง
  2. 2. ต้องมีการระบุตัวสัตว์และยานพาหนะ
  3. 3. การเข้มงวดตรวจสอบ ณ ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศตามชายแดน
  4. 4. การสุ่มตรวจสารเร่งเนื้อแดงก่อนส่งออก
  5. 5. การขึ้นทะเบียนบริษัทส่งออกโคมีชีวิต
  6. 6. โคทุกตัวต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) และโรคลัมปีสกิน (LSD)
  7. 7. การตรวจสอบรับรองฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดง

มาตรการดังกล่าวที่ตั้งไว้จะดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ให้มีความมั่นคงในอาชีพและช่วยเพิ่มมูลค่าให้การส่งออกสินค้าปศุสัตว์ของไทย"

2566_02_15b_001.jpg 2566_02_15b_002.jpg 2566_02_15b_003.jpg

2566_02_15b_004.jpg 2566_02_15b_005.jpg 2566_02_15b_006.jpg

2566_02_15b_007.jpg 2566_02_15b_008.jpg 2566_02_15b_009.jpg

2566_02_15b_010.jpg 2566_02_15b_011.jpg 2566_02_15b_012.jpg

2566_02_15b_013.jpg 2566_02_15b_014.jpg 2566_02_15b_015.jpg

2566_02_15b_016.jpg 2566_02_15b_017.jpg 2566_02_15b_018.jpg

2566_02_15b_019.jpg 2566_02_15b_020.jpg 2566_02_15b_021.jpg

2566_02_15b_022.jpg 2566_02_15b_023.jpg 2566_02_15b_024.jpg

2566_02_15b_025.jpg 2566_02_15b_026.jpg