011

อธิบดีกรมปศุสัตว์ขับเคลื่อน DLD-C ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.00 น. นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายของกรมปศุสัตว์ (DLD Co-ordinator) จังหวัดชลบุรี โดยมีนายชวนะ ทองเย็น รักษาการปศุสัตว์จังหวัดชลบุรี ดำเนินการประชุม และหน่วยงานกรมปศุสัตว์ในพื้นที่ชลบุรี เข้าร่วมประชุมฯ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทางสัตวแพทย์ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี
การประชุมครั้งนี้ ได้ร่วมกันหารือหลายประเด็น ดังนี้
1. สนง.ปศจ.ชลบุรี รายงานกิจกรรมการผ่าตัดทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (kick off) ปีงบประมาณพ.ศ. 2566 ซึ่งผลการดำเนินการเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้
2. สนง.ปศจ.ชลบุรี รายงานโครงการตามแผนปฎิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 อาทิ โครงการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอย่างสร้างสรรค์ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเกษตร กิจกรรมส่งเสริมให้มีการพัฒนาและปรับปรุงให้ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีสำหรับฟาร์ม (GAP) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3. สนง.ปศจ.ชลบุรี และ สคบ. รายงานโครงการเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (Chonburi Model) ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ได้แก่ โครงการเร่งรัดฯ เป็นโครงการขยายผลต่อเนื่องจากการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ โดยนำนโยบาย DLD-C มาใช้ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานระดับส่วนกลาง ระดับเขต ระดับพื้นที่ ซึ่งการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้ามีกฎหมายระดับ พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ คือ พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 พ.ร.บ.โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 และ พรบ. ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 และการจัดกิจกรรมรณรงค์ทำหมันสุนัขและฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า (Kick off) คาดว่าจะจัดงานในวันที่ 31 มีค 66 ณ โรงเรียนอนุบาลบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เนื่องจากเป็นช่วงที่โรงเรียนปิดเทอม และมีความพร้อมด้านสถานที่ ของสนง.ปศจ.ชลบุรี
4. ศอส.สระแก้ว และ สนง.ปศจ.ชลบุรี รายงานผลการดำเนินการ โครงการขยายพื้นที่ปลูกพืชอาหารสัตว์ 50,000 ไร่ ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 1,861 ราย พื้นที่ปลูก 8,961 ไร่ (ข้อมูลณวันที่ 31 มค. 66) ขั้นตอนถัดไป จะส่งรายชื่อให้แต่ละจังหวัด เพื่อประสานการจัดส่งเมล็ดพันธุ์หรือการไปรับเมล็ดพันธุ์ ซึ่งคาดว่าจะส่งมอบได้ในช่วงต้นเดือน มีค 66 เป็นต้นไป
5. ศวพ.ชลบุรี และ สนง.ปศจ.ชลบุรี รายงานโครงการเฝ้าระวังสารเร่งเนื้อแดงตกค้างเนื้อโค ปี 2566 โดยในพื้นที่จังหวัดชลบุรีส่งตัวอย่าง 16 ตัวอย่าง ให้ลบทุกตัวอย่าง
6. ศผท.ชลบุรี รายงานผลการปฏิบัติงาน การผสมเทียมในสุกร การสำรวจประชากรโคนมในพื้นที่ชลบุรี ฟาร์มเครือข่ายผสมเทียมโคเนื้อเพิ่มรายได้ โดยให้เจ้าหน้าที่ผสมเทียมไปสร้างเครือข่ายกับเกษตรกรเพื่อเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์

ทั้งนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ได้กล่าวถึงนโยบายว่า ส่วนใหญ่งานของกรมปศุสัตว์จะอยู่ในพื้นที่ กรมปศุสัตว์จึงมีนโยบาย DLD-C (DLD Co-ordinator) โดยมีปศุสัตว์จังหวัดเป็นประธาน เป็นการบูรณาการภายในจังหวัด ประสานงานภายในจังหวัดให้ราบรื่น เป็นไปได้ด้วยดี เมื่อมีปัญหาสามารถเรียกระดมพลได้ สื่อสารข้อมูลข่าวสารให้ไปถึงระดับพื้นที่ โดยการบริหารจัดการให้ยึดแนวครอบครัวปศุสัตว์ (DLD Family) ช่วยเหลือกัน ดูแลกัน เสมือนญาติพี่น้องกับเกษตรกร ทำเพื่อส่วนรวม ยึดค่านิยม คือ “ครอบครัวปศุสัตว์ ทำด้วยใจ ทำให้ไว ทำได้จริง” ส่วนด้านการประชาสัมพันธ์ เมื่อมีการปฏิบัติงานก็ต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ทั้ง LINE IG Tik Tok Facebook และในขณะนี้ กรมปศุสัตว์อยู่ในระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยี Digital Technology เช่น e-tracking Televet เพื่ออำนวยความสะดวก การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ยังได้เน้นย้ำเรื่องการบูรณาการทำงานร่วมกันภายในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนงานให้เกิดประโยขน์สูงสุด

001.jpg 002.jpg 003.jpg

004.jpg 005.jpg 006.jpg

007.jpg 008.jpg 009.jpg

010.jpg 011.jpg