25620428 1pic

วันที่ 28 เมษายน 2562 นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโตอธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ตามที่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานพบผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน 1 ราย ที่จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งถือว่าเป็นรายแรกของปี 2562 นั้น กรมปศุสัตว์ได้จัดส่งชุดเฉพาะกิจเคลื่อนที่เร็วจากส่วนกลางเข้าร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ ดำเนินการ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสุนัขในรัศมี 5 กิโลเมตร รอบจุดที่ผู้เสียชีวิตถูกสุนัขกัด (พื้นที่ของเทศบาลเมืองสุรินทร์ ตำบลนอกเมือง แกใหญ่ เฉนียง คอโค ท่าสว่าง) ซึ่งจากการสำรวจ มีสุนัข 11,918 ตัว และแมว 5,937 ตัว รวมทั้งหมด 17,855 ตัว และจุดที่ผู้ป่วยพักอาศัยอยู่ก่อนเสียชีวิต (อำเภอสังขะ ตำบลกระเทียม รัศมี 5 กม มี หมู่ 1, 2 ,13 ,15, 17) มีสุนัข 670 ตัว และแมว 226 ตัว รวมทั้งหมด 896 ตัว

นอกจากนี้ยังได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ อาสาปศุสัตว์ทุกพื้นที่ทั่วประเทศบูรณาการกับ ทุกภาคส่วนลงพื้นที่เคาะประตูบ้าน เพื่อเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าเชิงรุกค้นหาสัตว์กลุ่มเสี่ยงหรือสัตว์ ที่แสดงอาการของโรคอย่างเข้มงวดอีกด้วย

อย่างไรก็ตามเนื่องจากในปีนี้มีสภาวะอากาศที่ร้อนมาก ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้สุนัขหรือแมวแสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้า จึงได้กำชับและเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ ยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าอย่างสูงสุดโดยให้ดำเนินการ ดังนี้

  1. จุดเกิดโรค รัศมี 5 กม.รอบจุดเกิดโรคต้องฉีดวัคซีนให้สุนัขและแมวครบ 100% ทุกตัว โดยใช้วัคซีนของกรมปศุสัตว์ที่ได้เตรียมพร้อมไว้เรียบร้อยแล้ว
  2. อาสาปศุสัตว์เคาะประตูบ้าน X-Ray ค้นหาสัตว์ป่วยเชิงรุกเพื่อรู้โรคเร็วและลดความเสี่ยงที่จะไปกัดคนรวมถึงค้นหาผู้สัมผัสสัตว์สงสัยให้ได้รับการฉีดวัคซีน
  3. เก็บตัวอย่างสัตว์ป่วยที่สงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าส่งตรวจซึ่งจะทราบผลตรวจภายใน 24 ชั่วโมง
  4. ร่วมกับอบต. เทศบาล รณรงค์ฉีดวัคซีนฟรี!!!ทั่วประเทศให้กับสุนัขและแมวเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค
  5. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชน เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าและให้นำสัตว์ไปฉีดวัคซีนฟรี ที่ อบต. เทศบาล ปศุสัตว์อำเภอ หรือ ปศุสัตว์จังหวัด หากพบสัตว์เลี้ยง สุนัข-แมวมีอาการผิดปกติอย่าชะล่าใจให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอทุกพื้นที่เข้าควบคุมโรคพร้อมเก็บตัวอย่างส่งตรวจวินิจฉัย หรือสามารถเก็บตัวอย่างส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการกรมปศุสัตว์ได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการระงับเหตุ ลดความเสี่ยง และป้องกันคนหรือสัตว์ถูกกัดต่อไป

อธิบดีกรมปศุสัตว์ได้ฝากความห่วงใยถึงประชาชนและเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนต้องรีบพาสัตว์เลี้ยงไปรับการฉีดวัคซีน หรือหากพบสุนัขหรือแมวแสดงอาการผิดปกติโดยสัตว์ที่เป็น โรคพิษสุนัขบ้า จะซึ่งมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม เมื่อเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าเข้าสู่ระบบประสาท ถ้าเป็นสุนัขจะแสดงอาการ ดุร้าย กัดแทะสิ่งของ โดยไม่เจ็บปวด ตัวแข็ง กระวนกระวาย เมื่อเข้าสู่ระยะอัมพาต สุนัขจะลิ้นห้อย น้ำลายไหล คล้ายกับมีของติดคอ ลุกไม่ได้ และตายในที่สุด ส่วนในแมวมักหลบในที่มืด และอาการเช่นเดียวกับสุนัข ซึ่งจะสามารถแพร่เชื้อโรคได้นาน 1-7 วัน ก่อนเริ่มแสดงอาการป่วย และตลอดเวลาที่แสดงอาการ โดยจะขับเชื้อโรคออกมาจากน้ำลายจนถึงตายรวมแล้วประมาณ 10 วัน จึงอย่าได้ชะล่าใจ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอทุกพื้นที่เข้าควบคุมโรคพร้อมเก็บตัวอย่างส่งตรวจวินิจฉัย หรือสามารถเก็บตัวอย่างส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการกรมปศุสัตว์ได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการระงับเหตุ ลดความเสี่ยง และป้องกันคนหรือสัตว์ถูกกัดต่อไป

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือหากประชาชนถูก สุนัข-แมว กัด ข่วน หรือเลียบาดแผลอย่าชะล่าใจให้รีบพบแพทย์โดยเร็วเพื่อวินิจฉัยและรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อป้องกันตนเองไว้ก่อนเป็นการดีที่สุด อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวในท้ายที่สุด

---------------------------------------------------------

ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์  ข่าวปศุสัตว์

วันที่ 28 เมษายน 2562


วีดีโอประชาสัมพันธ์

  • สปอตกรมปศุสัตว์ ตอน ไม่นำสัตว์เลี้ยงฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า "ผิดกฎหมาย" https://youtu.be/IV_vnkOzlsY
  • วีดีทัศน์ ตอนที่ 1 “โรคพิษสุนัขบ้า” ภัยร้าย https://youtu.be/qYTX3SIVmxA
  • โรคพิษสุนัขบ้า ภัยร้าย!!! ใกล้ต้ว ตอนที่ 2 การป้องก้นโรคพิษสุนัขบ้า https://www.youtube.com/watch?v=YiwfizBTL5Y
  • โรคพิษสุนัขบ้า ภัยร้าย!!! ใกล้ต้ว ตอนที่ 3 พระราชบัญญ้ติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535 https://www.youtube.com/watch?v=agT0nOS9hL8&feature=youtu.be

บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ