×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news/head/25530601

×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder:

นายปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ อธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมกับ นายนิรันดร เอื้องตระกูลสุข ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ และนายธนบดี รอดสม ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาระบบและรับรองคุณภาพอาหารสัตว์อุตสาหกรรม ได้เดินทางไปตรวจประเมินโรงงานผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ ชนิดเนื้อสัตว์ปีกป่น ระหว่างวันที่ 1–8 มิถุนายน 2553 เพื่อประเมินกระบวนการผลิตและคุณภาพของวัตถุดิบอาหารสัตว์ดังกล่าว เพื่อจะนำมาประกอบการอนุญาตให้นำเข้ามาเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์สำหรับเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย

 

     โรงงานแรกชื่อ  Ampro  Products Inc. เลขที่  2305 O′Kelly  Road เมืองGainesville, รัฐจอร์เจีย   ซึ่งเป็นโรงงานที่ผลิตเนื้อสัตว์ปีกป่นได้  6,800  ตันต่อเดือน  สำหรับโรงงานที่  2  ชื่อ  Griffin Industries  Inc  เลขที่  508  Highway  80  East เมือง Dublin  รัฐจอร์เจีย  ผลิตเนื้อสัตว์ปีกป่นได้  9,500  ตันต่อเดือน  ซึ่งทั้งสองโรงงานได้รับใบอนุญาตให้เป็นโรงงานผลิตผลพลอยได้จากสัตว์ปีกเท่านั้น  จาก  Department of  Agriculture  แห่งรัฐจอร์เจีย  ประเทศสหรัฐอเมริกา  มีกระบวนการผลิตที่เหมาะสม  และมีการตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ผลิต  ซึ่งน่าเชื่อถือได้ว่าเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพดีและปลอดภัย
ต่อสัตว์

     สำหรับเนื้อป่น  เนื้อกระดูกป่น  เนื้อสัตว์ปีกป่นและผลพลอยได้จากสัตว์ปีกป่นมีการนำเข้ามาเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกปี  ในปี  2550,  2551  และปี 2552  มีการนำเข้ามาจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกประมาณ  13,744  ตัน  148,550  และ  197,163 ตัน  ตามลำดับ  ซึ่งกรมปศุสัตว์ต้องควบคุมการนำเข้าอย่างเข้มงวดตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์  พ.ศ. 2525  ผู้นำเข้าต้องขออนุญาตนำเข้าซึ่งอาหารสัตว์เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว  ต้องขอขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์  เมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์แล้ว  ทุกครั้งที่มีการนำเข้าต้องแจ้งให้กรมปสุสัตว์ตามทราบตามแบบใบแจ้งขออนุญาตนำเข้าซึ่งอาหารสัตว์ (นส.4)  เพื่อเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ได้ไปเก็บตัวอย่างมาเพื่อตรวจวิเคราะห์ไม่ให้มีการปนเปื้อน  DNA  ของสัตว์เคี้ยวเอื้อง    จึงสามารถนำเข้ามาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้

 

{gallery}news/head/25530601{/gallery}

 

ข้อมูล :  สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ ส่วนควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์