S 2596967

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ปศุสัตว์ กล่าวว่า ตามที่มีรายงานสถานการณ์โรคลัมปี สกิน (Lumpy skin) เป็นโรคอุบัติใหม่ในประเทศไทย ไม่ใช่โรคติดต่อสัตว์สู่คน พบการติดเชื้อครั้งแรกในโคเนื้อของเกษตรกรที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2564 การแพร่กระจายของโรคโดยมีแมลงเป็นพาหะ ไปยังโค-กระบือของเกษตรกรในจังหวัดต่างๆ สร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบืออย่างมาก ท่าน ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีความห่วงใยและกำชับสั่งการให้กรมปศุสัตว์เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาควบคุมสถานการณ์การระบาดให้สำเร็จ เพื่อลดความสูญเสียให้กับเกษตรกร เฝ้าระวังโรคในจังหวัดข้างเคียง และหาแนวทางช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายโดยเร็ว

กรมปศุสัตว์จึงได้เร่งดำเนินการตามมาตราการในการควบคุมป้องกันโรค ลดความเสียหายและผลกระทบให้เกิดน้อยที่สุด และพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกรผู้เสียหาย ได้แจ้งปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่เกิดการระบาดโรคลัมปี สกิน ในโค –กระบือ ให้เร่งตรวจสอบความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 ซึ่งนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เสนอให้แก้ไขระเบียบ โดยเพิ่มอัตราการให้ความช่วยเหลือกรณีสัตว์ตายด้วยโรคลัมปี สกิน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่ง ปัจจุบัน (25 พฤศจิกายน 2564) ได้จ่ายเงินให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรแล้ว 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ น่าน เชียงใหม่ กำแพงเพขร อุทัยธานี ชุมพร นครสวรรค์ และแพร่ รวมเกษตรกร 297 ราย โค-กระบือ 390 ตัว วงเงิน 8,520,000 บาท จากที่กรมปศุสัตว์ได้รับเอกสารจากจังหวัดแล้วทั้งสิ้น 28 จังหวัด รวมเกษตรกร 20,271 ราย โค-กระบือ 23,707 ตัว วงเงิน 503,972,200 บาท โดยจะเร่งตรวจสอบเอกสารตามขั้นตอน พร้อมทั้งทยอยจ่ายเงินให้เกษตรกรในแต่ละจังหวัดภายในช่วยเทศกาลปีใหม่นี้ สำหรับจังหวัดอื่นๆ อีก 35 จังหวัด รวมโค-กระบือ 34,936 ตัว อยู่ระหว่างนำเข้าประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) และประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) และรวมรวมเอกสารส่งกรมปศุสัตว์ต่อไป

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้กำชับเจ้าหน้าที่ให้เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือ ที่ได้รับความเสียหายจากการแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน อย่างเร่งด่วน ทั้งในด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสัตว์ การกำจัดแมลงพาหะ เพื่อเป็นการป้องกันโรค และการให้ความช่วยเหลือเยี่ยวยาให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวการคลังระเบียบกระทรวงคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศใช้หลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 แล้ว เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 และมีผลบังคับใช้สำหรับโรคระบาดชนิดโรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป โดยเกณฑ์การช่วยเหลือใหม่แบ่งตามช่วงอายุ มีดังนี้ โคอายุน้อยกว่า 6 เดือน ได้รับ 13,000 บาท กระบืออายุน้อยกว่า 6 เดือน ได้รับ 15,000 บาท โคอายุตั้งแต่ 6 เดือน - 1 ปี ได้รับ 22,000 บาท กระบืออายุตั้งแต่ 6 เดือน - 1 ปี ได้รับ 24,000 บาท โคอายุมากกว่า 1 - 2 ปี ได้รับ 29,000 บาท กระบืออายุมากกว่า 1 - 2 ปี ได้รับ 32,000 บาท โคอายุมากกว่า 2 ปี ได้รับ 35,000 บาท และกระบืออายุมากกว่า 2 ปี ได้รับ 39,000 บาท

ทั้งนี้ ขอให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือมั่นใจว่าได้รับค่าชดเชยแน่นอน โดยขอให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตวทำขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกแห่ง เพื่อให้สามารถรับการชดเชย กรณีสัตว์เสียหายจากภัยพิบัติ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จะได้มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อให้การส่งเสริม สนับสนุน และดูแลเกี่ยวกับการควบคุม ป้องกันโรคได้อย่างทั่วถึงต่อไป

ข้อมูล : คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ