S 1392742

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้ยืนยันถึงสถานการณ์การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ของไทยว่า นับตั้งแต่ไทยได้พบการเกิดการระบาดของโรค ASF ในไทย เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 ที่มีการยืนยันการตรวจพบเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) จากการเก็บตัวอย่างในจังหวัดนครปฐม ไม่ได้นิ่งนอนใจ ผ่านมา 7 เดือนแล้ว ตลอดเวลาที่ผ่านมา กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันอุดมศึกษา องค์กรวิชาชีพ(สัตวแพทย์ สัตวบาล) และสมาคมผู้เลี้ยงสุกร ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรค ASF อย่างเข้มข้น และต่อเนื่อง โดยให้ทุกพื้นที่ รายงานสถานการณ์ทุกวัน (Zero Report) ซึ่งสถานการณ์จนถึงปัจจุบันพบรายงานการเกิดโรค ASF เป็นจุดเล็กๆ ใน 30 จังหวัด ปัจจุบันสามารถควบคุมโรคให้สงบ โดยไม่พบการเกิดโรคแล้ว(สีเขียว) ได้แล้วทั้งสิ้น 29 จังหวัด พบเพียง 1 จังหวัดที่ไม่พบการเกิดโรคแล้วมากกว่า 21 วันแต่ไม่เกิน 30 วันซึ่งอยู่ในระยะเฝ้าระวังโรค(สีเหลือง) ถือได้ว่า สามารถควบคุมโรคได้อยู่ในวงจำกัดและมีประสิทธิภาพ

จากมาตรการการควบคุมโรคที่ออกมาอย่างเข้มข้นของกรมปศุสัตว์ ส่งผลให้สถานการณ์การระบาดของโรค ASF ในประเทศไทยนั้นกลับมามีทิศทางที่ดีขึ้น “ประเทศไทย” ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศติดอันดับโลก ในการป้องกันควบคุมโรคดีที่สุดในเอเชีย หลังล่าสุดตัวเลขติดเชื้อ ASF ในสุกรลดลงเป็นศูนย์ และมีต่างประเทศเข้ามาศึกษาดูงาน อาทิ ฟิลิปปินส์ได้สอบถามถึงนโยบายและแนวทางควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวัง ASF ในประเทศไทย เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับมาตรการในประเทศ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคของฟิลิปปินส์

ส่วนกรณีฝ่ายค้านได้หยิบยกประเด็นการควบคุมโรค ASF กล่าวหารัฐบาลว่าปกปิดการเกิดโรคนั้น ขอยืนยันว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่เกิดโรค ASF ครั้งแรกของทวีปเอเชีย ที่จีนเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2561 กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่เคยคิดจะปกปิดข้อมูลใดๆทั้งสิ้น เพราะโรค ASF ในสุกรเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ยังไม่มีวัคซีนป้องกันและไม่มียารักษาเฉพาะ มีอัตราการป่วยตายสูง และโรคมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรค ASF ในสุกรและการออกมาตรการต่างๆ อยู่ในรูปคณะกรรมการ ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา องค์กรวิชาชีพ และสมาคมผู้เลี้ยงสุกร การดำเนินการเป็นไปอย่างเปิดเผย นอกจากนี้ตลอดเวลาดังกล่าว ตั้งแต่ปี 2561 – 2565 ประเทศผู้นำเข้าสุกรและผลิตภัณฑ์สุกรจากไทย มีความเข้มงวด ตรวจสอบสุกรและผลิตภัณฑ์สุกรของไทยก่อนการนำเข้า และเมื่อนำเข้ามีการตรวจสอบซ้ำอีกครั้ง ซึ่งยังไม่พบเชื้อ ASF แต่อย่างใด ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะปกปิดข้อมูลของโรคได้

สำหรับเนื้อสุกรที่กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้นำมาจัดจำหน่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนในราคาพิเศษในกิโลกรัมละ 140 บาท ที่ตลาด อตก เมื่อวันที่ 12-19 กุมภาพันธ์ 2565 นั้น เนื้อสุกรที่มาจัดจำหน่ายดังกล่าวนั้น เป็นเนื้อสุกรที่ได้รับการรับรองปศุสัตว์ OK แล้ว ซึ่งมีการตรวจสอบทุกขั้นตอนตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ฟาร์ม โรงฆ่า จนถึงสถานที่จัดจำหน่ายว่า ปลอดจากโรคและมีความปลอดภัย ได้มาตรฐานตามหลักสากล ดังนั้นเนื้อสุกรดังกล่าวมั่นใจได้ว่าปลอดจากโรคและมีความปลอดภัยอย่างแน่นอน

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า สำหรับการฟื้นฟูเกษตรกรรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโรค ASF ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรได้กลับมาเลี้ยงใหม่แล้ว ดังนั้น เพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำอีก จะดำเนินการภายใต้มาตรการ 3S คือ Scan พื้นที่ว่าอยู่ในพื้นที่ที่วิเคราะห์ความเสี่ยงทางระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์แล้วว่ามีความเสี่ยงต่ำ Screen คน คือ ความพร้อมของเกษตรกรผู้เลี้ยง ตลอดจนคอก เครื่องมือและอุปกรณ์ มีความพร้อม Support จะมีการให้ความรู้ด้านการเลี้ยงและการป้องกันโรค ตลอดจนหาแหล่งทุนในการสนับสนุนเกษตรกรอีกด้วย นอกจากนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์การลงเลี้ยงใหม่ โดยก่อนลงเลี้ยงต้องเก็บตัวอย่างพื้นผิวคอก ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เมื่อไม่พบเชื้อจะทดลองนำสุกรลงเลี้ยงก่อน จำนวน 10% เมื่อไม่พบโรคแล้วจึงลงเลี้ยงครบ 100% ต่อไป ซึ่งการกำหนดหลักเกณฑ์ลงเลี้ยงใหม่ดังกล่าว จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรคซ้ำ พร้อมทั้ง กรมปศุสัตว์ได้จัดทำโครงการส่งเสริมและฟื้นฟูรายย่อย-เล็ก โดยมีเป้าหมาย 1 แสนราย วงเงิน 1,401 ล้านบาทอีกด้วย

**************************************

ข้อมูล/ข่าว : นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ (22 ก.ค. 2565) ข่าวปศุสัตว์


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ