001

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2565 เวลา 13.30 น.  ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (Pig Board) โดยมี นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล (ZOOM)

โดยที่ประชุมรับทราบสถานการณ์การผลิตการตลาดสุกร ประจำไตรมาส 3/2565 (ก.ค. - ก.ย.) มีปริมาณการผลิตสุกรขุน 3.81 ล้านตัว (ประมวลผลจากข้อมูลการเคลื่อนย้ายสัตว์) คิดเป็นเนื้อสุกร 286.05 พันตัว ปรับลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 คิดเป็นร้อยละ 20.63 เนื่องจากปริมาณแม่พันธุ์สุกรในระบบลดลง จากปัญหาความเสี่ยงด้านสุขภาพในสุกร ประกอบกับเกษตรกรบางรายอยู่ในช่วงปรับตัวเข้าสู่ระบบมาตรฐานใหม่ และภาระต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นจากราคาพันธุ์สุกรและอาหารสัตว์ที่ปรับเพิ่มขึ้น จึงชะลอการนำสุกรเข้าเลี้ยง

              สำหรับต้นทุนการผลิตสุกร (กรณีซื้อลูกสุกรมาเลี้ยงเอง) เฉลี่ย 98.06 บาท/กก. ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 1.64 ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.76 จากไตรมาสที่ผ่านมา เป็น 100 บาท/กก. และเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.72 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ราคาขายปลีกเนื้อสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 202.96 บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/65 ร้อยละ 4.48

               การส่งออกสุกรมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 มูลค่ารวม 2,264.47 ล้านบาท โดยเริ่มมีการส่งออกสุกรมีชีวิตในไตรมาส 2/2565 เนื่องจากประกาศของคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการห้ามส่งออกสุกรมีชีวิตไปนอกราชอาณาจักร เป็นเวลา 3 เดือน สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2565 ที่ผ่านมา การส่งออกสุกรมีชีวิตเป็น 2,619 ตัว มูลค่า 17.44 ล้านบาท เป็นการส่งออกสุกรพันธุ์ รวม 2,444 ตัว มูลค่า 15.69 ล้านบาท สำหรับการส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์รวมทั้งสิ้น 19,596.66 ตัน มูลค่า 2,247.03 ล้านบาท เป็นหนังฟอก 11,998.59 ตัน เนื้อสุกร 984.41 ตัน เนื้อสุกรแปรรูป 6,430.31 ตัน

             การนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกร ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 มูลค่ารวม 1,916.41 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 ร้อยละ 4.24 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าชิ้นส่วนอื่นของสุกร จำนวน 66,745.05 ตัน ประกอบด้วย หนังสุกร และเครื่องในสุกร

            นอกจากนี้ ยังได้รับทราบผลการประชุมคณะอนุกรรมการต้นทุนการผลิตสุกร เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 รวมถึงมาตรการป้องกันปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าสุกร โดยมีปริมาณการเข้าตรวจสอบห้องเย็นทั่วประเทศ จำนวน 428 ครั้ง ได้ดำเนินการปราบปรามการลักลอบนำเข้าเนื้อสุกรมาขายในประเทศ โดยมีการดำเนินคดี 29 คดี ของกลางจำนวน 1,069,954 กิโลกรัม (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ธ.ค. 65) ทำลายไปแล้ว 75,886 กิโลกรัม มีแผนทำลาย (เดือน ธ.ค. 65) 994,068 กิโลกรัม มูลค่า 123,800,224 บาท

             ในส่วนของมาตรการควบคุม ป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever : ASF) มีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยมีการเฝ้าระวังเชิงรับและเชิงรุก ทั้ง พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์ (E-smart surveillance) การเฝ้าระวังทางอาการ การเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการสุกรในโรงฆ่าหรือสุกรเคลื่อนที่ เป็นต้น รวมถึงมีการกำหนดหลักเกณฑ์การลงเลี้ยงสุกรใหม่ ที่ต้องผ่านการอบรมการเลี้ยงและป้องกันโรคปีละ 1 ครั้ง ในรัศมี 5 กม. ไม่มีรายงานโรคอย่างน้อย 30 วัน และเป็นฟาร์ม GFM ขึ้นไป หรือได้รับการประเมินฟาร์มเบื้องต้นตามแบบ ฟป.2 เป็นต้น และรับทราบความก้าวหน้าการพัฒนาวัคซีน้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรด้วย

           ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบในหลักการโครงการพัฒนาระบบการติดตามยานพาหนะบรรทุกสัตว์และซากสัตว์ผ่านระบบ GPS Tracking ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการตลาดด้วยเทคโนโลยีดิจิตัล สามารถตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของสัตว์-ซากสัตว์ได้ เพื่อเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคระบาด และโครงการยกระดับ ปรับระบบการจัดการ และส่งเสริมการเลี้ยงสุกรรายย่อย – เล็ก เพื่อยกระดับ ปรับระบบการจัดการ และอบรมการเลี้ยงสุกร พัฒนาระบบป้องกันและควบคุมโรค ASF และโรคที่สำคัญในสุกร ที่ฟาร์มเกษตรกร และสนับสนุนสุกรขุนแก่เกษตรเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารของประเทศ และเป็นอาชีพที่ยั่งยืน

ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 123 

ภาพ : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ / ข่าว : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ / สลก. / กรุมปศสัตว์


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ