2566 09 22c 001รมช.ไชยา ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสหกรณ์โคนมท่าหลวง และเยี่ยมชมฟาร์มเกษตรกรหนึ่งในสมาชิกสหกรณ์โคนมที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ระบบ I farmer plus กรมปศุสัตว์

วันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2566 เวลา 15.30 น. นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะที่ปรึกษารัฐมนตรี พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ และหัวหน้าหน่วยงานราชการกรมปศุสัตว์ เข้าเยี่ยมชมและรับทราบสถานการณ์การเลี้ยงโคนม ณ สหกรณ์โคนมท่าหลวง อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี ซึ่งเป็นสหกรณ์โคนมต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการทั้งด้านประสิทธิภาพการเลี้ยงโคนมและคุณภาพน้ำนม และเข้าเยี่ยมชมฟาร์มเกษตรกรโคนมของนายสมเจตน์ กลิ่นประทุม ซึ่งเป็นฟาร์มที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์โคนมท่าหลวง

ด้านนายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินโครงการสหกรณ์โคนมต้นแบบ โดยสำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ และศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพทั้ง 10 ศูนย์ ทั่วประเทศได้คัดเลือกสหกรณ์โคนมเข้าร่วมโครงการสร้างสหกรณ์โคนมต้นแบบที่มีประสิทธิภาพสูง จำนวน 10 สหกรณ์ โดยศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพฯ จะเข้าไปช่วยจัดการระบบฐานข้อมูลโคนมของสหกรณ์ด้วยโปรแกรม G-Dairy ของกรมปศุสัตว์ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนการผลิตน้ำนม การจัดการด้านอาหาร การจัดการระบบสืบพันธุ์ การจัดการด้านสุขภาพ การปรับปรุงพันธุ์ และการจัดการด้านคุณภาพน้ำนม ในการดำเนินการจะมีหน่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (HIU) เข้าติดตามการดำเนินงานเดือนละ 1 ครั้ง โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลโคนม องค์ประกอบน้ำนม พันธุ์ประวัติ การจัดการฝูงโคนม การจัดการอาหาร รวมถึงการปรับปรุงพันธุ์โคนมภายในฟาร์ม โดยใช้น้ำเชื้อที่มีความเหมาะสม

สำหรับสหกรณ์โคนมท่าหลวง อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี เป็นหนึ่งในสหกรณ์โคนมต้นแบบที่มีการดำเนินการร่วมกับศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพสระบุรี กรมปศุสัตว์ ซึ่งในภาพรวมหลังดำเนินการพบว่าประสิทธิภาพระบบสืบพันธุ์ของโคนม และคุณภาพน้ำนมเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน

ทั้งนี้ รมช. เกษตรฯ นายไชยา พรหมา ได้เข้าเยี่ยมชมฟาร์มเกษตรกรโคนมของนายสมเจตน์ กลิ่นประทุม ซึ่งเป็นฟาร์มที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์โคนมท่าหลวงมีจำนวนโคนมทั้งหมด 113 ตัว โดยเป็นฟาร์มที่มีการนำระบบแอพพลิเคชั่น I farmer plus ของกรมปศุสัตว์มาใช้ในการเก็บข้อมูลโคนมและแจ้งเตือนเหตุการณ์สำคัญ เช่น กำหนดการตรวจท้องหลังผสม กำหนดเวลาคลอด และกำหนดตรวจระบบสืบพันธุ์ ทำให้เกษตรกรสามารถวางแผนการจัดการฟาร์มโคนม ได้ดีขึ้นในทุกด้าน ส่งผลให้เกษตรกรมีผลผลิต และรายได้ในฟาร์มโคนมเพิ่มขึ้น

หากสหกรณ์โคนม มีความสนใจโปรแกรม G-Dairy หรือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมีความสนใจระบบแอพพลิเคชั่น I farmer plus ของกรมปศุสัตว์ ที่ช่วยในการบันทึกข้อมูล และแจ้งเตือนเหตุการณ์สำคัญภายในฟาร์ม สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพทั้ง 10 ศูนย์ทั่วประเทศ หรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่

**********************************
ภาพ/หนุ่ย ณัฐพร ช่างศิลป์ ข้อมูล/ข่าว สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ